'เงินบาท' วันนี้เปิด 'อ่อนค่า' สูงสุดในรอบ16เดือนที่33.04บาทต่อดอลลาร์

'เงินบาท' วันนี้เปิด 'อ่อนค่า' สูงสุดในรอบ16เดือนที่33.04บาทต่อดอลลาร์

  • 0 ตอบ
  • 69 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

luktan1479

  • *****
  • 3464
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




นายพูน พานิชพิบูลย์  นักวิเคราะห์ประจำห้องค้าเงินธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ 33.04 บาทต่อดอลลาร์อ่อนค่าลงเล็กน้อย

จากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ 33.01 บาทต่อดอลลาร์ มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 32.95-33.10 บาทและดอลลาร์

สำหรับแนวโน้มค่าเงินบาทยังคงอ่อนค่าอยู่จากปัญหาการระบาดของโควิด-19 ในวันนี้มียอดผู้ติดเชื้อใหม่รายวันทะลุ20,000รายในขณะที่เงินดอลลาร์โดยรวมมีแนวโน้มแกว่งตัว Sideways

ดังนั้นเราจึงยังมองไม่เห็นโอกาสที่เงินบาทจะพลิกกลับเทรนด์มาแข็งค่าได้ในเร็วนี้ เนื่องจากปัญหาการระบาดของ โควิด-19 ในไทยยังมีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้น ทำให้ ค่าเงินบาทยังเผชิญแรงกดดันฝั่งอ่อนค่าได้อย่างต่อเนื่อง จนกว่าสถานการณ์การระบาดจะเริ่มมีทิศทางดีขึ้น ซึ่งก็อาจจะต้องรอในช่วงต้นเดือนกันยายน จากโมเดลคาดการณ์ยอดผู้ติดเชื้อล่าสุดของทางรัฐบาลหรือภาคเอกชน

ทั้งนี้ ในระยะสั้น หากตลาดคลายกังวล ปัญหาการระบาด โคะวิด-19 ทั่วโลก และกล้าเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้น หนุนโดยรายงานผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนที่ออกมาแข็งแกร่งและดีกว่าคาด ก็อาจทำให้ เงินดอลลาร์กลับมาอ่อนค่าลง หลังผู้เล่นในตลาดไม่จำเป็นต้องถือสินทรัพย์ปลอดภัย (Safe Haven Asset) เพื่อหลบความผันผวนในตลาด ซึ่งการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ ก็อาจทำให้ เงินบาทไม่อ่อนค่าหนัก ทะลุ 33 บาทต่อดอลลาร์ ไปมาก

โดยเรามองว่า แนวต้านสำคัญของค่าเงินยังอยู่ในโซน 33.10-33.20 บาทต่อดอลลาร์ ในขณะที่แนวรับของเงินบาทก็ปรับขึ้นมาสู่ระดับ 32.80-32.90 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งเป็นช่วงราคาที่ผู้นำเข้าต่างรอจังหวะย่อตัว เพื่อทยอยปิดความเสี่ยงค่าเงิน


ตลาดการเงินโดยรวมพลิกกลับมาเปิดรับความเสี่ยงอีกครั้ง หนุนโดยรายงานผลประกอบการบรรดาบริษัทจดทะเบียนในฝั่งสหรัฐฯ และยุโรปที่ออกมาดีกว่าคาด อย่างไรก็ดี ผู้เล่นในตลาดการเงินบางส่วนยังคงมีความกังวลว่าปัญหาการระบาดระลอกใหม่ของ โควิด-19 อาจกดดันให้การฟื้นตัวเศรษฐกิจเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง ดังจะเห็นได้จากการที่ผู้เล่นในตลาดยังคงต้องการสินทรัพย์ปลอดภัย ส่งผลให้บอนด์ยีลด์ 10ปี สหรัฐฯ ปรับตัวลดลงเล็กน้อยและทรงตัวที่ระดับ 1.17% ขณะที่เงินดอลลาร์ รวมถึงเงินเยนญี่ปุ่นก็ยังอยู่ในแนวโน้มแข็งค่าขึ้น

ทั้งนี้ ในฝั่งสหรัฐฯ ผู้เล่นในตลาดการเงินให้น้ำหนักรายงานผลประกอบการบรรดาบริษัทจดทะเบียนออกมาแข็งแกร่งและดีกว่าคาด มากกว่าปัจจัยความกังวลปัญหาการระบาดระลอกใหม่ในสหรัฐฯ ส่งผลให้ ดัชนี Dowjones และ ดัชนี S&P500 ต่างปรับตัวขึ้นราว 0.80% ส่วน หุ้นเทคฯ ยังสามารถปรับตัวขึ้นได้ หลังบอนด์ยีลด์ 10ปี สหรัฐฯ ยังทรงตัวในระดับต่ำต่อไป หนุนให้ ดัชนีหุ้นเทคฯ Nasdaq ปิดบวก +0.55%

ส่วนในฝั่งยุโรป ดัชนี STOXX50 ของยุโรป ปรับตัวขึ้นเล็กน้อย +0.03% โดยตลาดหุ้นยุโรปเผชิญทั้งแรงหนุนจากรายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียนที่ออกมาดีกว่าคาด พร้อมกับแรงกดดันจากรายงานผลประกอบการบริษัทใหญ่ที่ออกมาแย่กว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ อาทิ BMW -5.04% หลังรายงานผลประกอบการล่าสุด สะท้อนว่าบริษัทมองช่วงครึ่งหลังของปีมี Profit Margin ลดลง ทั้งนี้ ผู้เล่นในตลาดยังคงมีความหวังต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจ สอดคล้องกับการปรับตัวขึ้นของหุ้นในกลุ่ม Cyclical อาทิ หุ้นกลุ่มสินค้าแบรนด์เนม Adidas +1.43%, Louis Vuitton +1.30%

ทางด้านตลาดบอนด์ ผู้เล่นในตลาดบอนด์ยังมีมุมมองที่ระมัดระวังตัวอยู่ จากความกังวลปัญหาการระบาดของเดลต้า ทำให้สินทรัพย์ปลอดภัยยังเป็นที่ต้องการของตลาด ดังจะเห็นได้จากการที่ บอนด์ยีลด์ 10ปี สหรัฐฯ ปรับตัวลดลง สู่ระดับ 1.17%

ส่วนในฝั่งตลาดค่าเงิน แม้บอนด์ยีลด์ 10ปี สหรัฐฯ จะปรับตัวลดลง ทว่า เงินดอลลาร์โดยรวมยังคงทรงตัวเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก เนื่องจากตลาดยังคงมีความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยเพื่อหลบความผันผวนในช่วงที่ปัญหาการระบาดของโควิด-19 อาจทวีความรุนแรงมากขึ้นได้ หลังเริ่มพบการระบาดในสหรัฐฯและจีนมากขึ้น ทำให้ล่าสุดดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY Index) ยังทรงตัวใกล้ระดับ 92.03 จุด นอกจากนี้ ความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยยังช่วยหนุนให้ เงินเยนญี่ปุ่น (JPY) กลับมาแข็งค่าขึ้น แตะระดับ 109 เยนต่อดอลลาร์ อีกครั้ง

สำหรับวันนี้ ตลาดจะติดตามแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ รวมถึงเศรษฐกิจจีน ผ่านการติดตามรายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการบริการ (Services PMI) ในเดือนกรกฎาคม

โดยในฝั่งสหรัฐฯ ตลาดมองว่า ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว อาจกดดันให้ภาคการบริการขยายตัวในอัตราชะลอลง โดยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการบริการ (ISM Services PMI) เดือนกรกฎาคม อาจชะลอลงสู่ระดับ 60 จุด

เช่นเดียวกันกับฝั่งจีน ตลาดอาจเริ่มกังวลแนวโน้มการฟื้นตัวเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงต่อเนื่อง ซึ่งอาจสะท้อนผ่าน ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการบริการ (Caixin Services PMIs) ในเดือนกรกฎาคม ที่จะลดลงสู่ระดับ 50.2 จุด ตามลำดับ (ดัชนีเกิน 50 จุด หมายถึง ภาวะขยายตัว) นอกจากนี้ ปัญหาการระบาดของ Delta ล่าสุดในเมืองใหญ่ อาทิ กรุงปักกิ่งและนครฉงชิ่ง ก็อาจสร้างแรงกดดันต่อบรรยากาศการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงจีนในระยะสั้นได้

ส่วนในฝั่งไทย ปัญหาการระบาดโควิด-19 ที่มีแนวโน้มเลวร้ายต่อเนื่องจะกดดันให้เศรษฐกิจซบเซาลงมากกว่าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเคยประเมินไว้ ทำให้ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เลือกที่จะคงนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายต่อไป โดยคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 0.50% และเน้นย้ำถึงการใช้นโยบายการเงินเฉพาะจุด อาทิ การเร่งเสริมสภาพคล่องให้กับภาคธุรกิจที่ต้องการ ผ่านโครงการพักทรัพย์พักหนี้ หรือ Soft loans เป็นต้น