โควิดหนุนงานออนไลน์โลก-ยอดจดทะเบียนทะยาน

โควิดหนุนงานออนไลน์โลก-ยอดจดทะเบียนทะยาน

  • 0 ตอบ
  • 72 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Ailie662

  • *****
  • 2858
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




การระบาดของโรคโควิด-19 นอกจากจะเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิตของผู้คนในยุคนี้แล้ว ยังทำให้บริษัทต่างๆในทุกภาคอุตสาหกรรมปรับตัว ปรับรูปแบบบในการดำเนินธุรกิจให้สอดรับกับสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ด้วยเหตุนี้ การทำงานทางออนไลน์ข้ามพรมแดนจึงเพิ่มขึ้นถึง 30% หรือมีมนุษย์เงินเดือนทำงานทางไกลทั่วโลกประมาณ 600 ล้านคน

“ริชาร์ด บัลด์วิน” นักเศรษศาสตร์ระหว่างประเทศระบุว่า ถึงเวลาแล้วที่การทำงานทางไกลจะกลายเป็นการทำงานกระแสหลักในตลาดแรงงานโลกและประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ทั้งหลายทั้ง อินเดีย ปากีสถาน และบังกลาเทศต่างมีส่วนช่วยเสริมให้แนวโน้มนี้เติบโตมากขึ้น

มหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด ระบุว่า ในปี 2563 แรงงานในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ที่ทำงานทางไกลหรือทำงานทางออนไลน์มีสัดส่วน 82% เป็นสัดส่วนเพิ่มขึ้น โดยจ้างแรงงานรายชั่วโมงโดยเฉลี่ย 10 ดอลลาร์เทียบกับในสหรัฐที่ 33 ดอลลาร์

ด้านองค์การแรงงานระหว่างประเทศ(ไอแอลโอ) ยังคงมีความเห็นว่า งานหลายประเภทสามารถทำทางออนไลน์ได้ดี ให้ผลผลิตและผลประกอบการเป็นที่น่าพอใจแก่เจ้าของกิจการ

ไอแอลโอประเมินว่า หนึ่งในหกของแรงงานทั้งโลก รวมถึงวิศวกรเทคโนโลยีสารสนเทศและเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน สามารถทำงานทางไกลได้ หมายความว่ามีแรงงานทั่วโลกที่สามารถทำงานทางไกลได้ 600 ล้านคน

อย่างไรก็ตาม ประเทศพัฒนาแล้วบางประเทศ อย่างญี่ปุ่น ยังคงล้าหลังเกี่ยวกับแนวโน้มในเรื่องนี้ และอาจจะได้เห็นญี่ปุ่นแข่งขันกับประเทศอื่นไม่ได้เลย หากไม่เร่งเพิ่มทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลให้แก่ทรัพยากรบุคคลในประเทศ

แรงงานทั่วโลกที่ลงทะเบียนกับฟรีแลนเซอร์ เว็บไซต์จัดหางานชั้นนำของออสเตรเลีย ที่ทำหน้าที่นำผู้ต้องการหางานและผู้ต้องการพนักงานทางออนไลน์มาพบกัน มีจำนวน 50.8 ล้านคนในช่วงปลายปี 2563 เพิ่มขึ้น 8.9 ล้านคนจากปีก่อนหน้านี้ และภายในเดือนมิ.ย.จำนวนแรงงานที่ลงทะเบียนเพิ่มขึ้นเป็น 53.1 ล้านคน เพิ่มขึ้นเกือบ 30% จากช่วงก่อนหน้าที่จะเกิดการระบาดของโรคโควิด-19

ขณะที่ผลสำรวจของมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ดและที่อื่นๆบ่งชี้ว่าการเสนอตำแหน่งงานผ่านทางโบรกเกอร์หางานออนไลน์มีฐานดำเนินงานในอังกฤษในช่วงเดือนก.ค.เพิ่มขึ้น 30% จากช่วง2ปีก่อนหน้านี้

นอกจากมาตรการเข้มงวดด้านการเดินทางเข้า-ออกข้ามพรมแดนเพราะการระบาดของโรคโควิด-19 แล้ว นโยบาย“อเมริกันต้องมาก่อน”ของนายโดนัลด์ ทรัม์ อดีตประธานาธิบดีสหรัฐ ก็ส่งผลต่อแรงงานในระบบ โดยสหรัฐออกวีซ่าสำหรับคนทำงานลดลงอย่างมากในปีงบประมาณ 2563 นับจนถึงเดือนก.ย.ปี 2563 สหรัฐออกวีซ่าประเทศH-1B แก่ผู้มาขอจำนวน124,983 คน โดยวีซ่านี้อนุญาตให้เจ้าของบริษัทว่าจ้างแรงงานต่างชาติในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีดิจิทัล และอาชีพอื่นๆ ลดลง 30% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้านี้

ประมาณกลางปี2563 ทรัมป์ลงนามคำสั่งพิเศษของประธานาธิบดีห้ามไม่ให้มีการอพยพถิ่นฐานเข้าสู่สหรัฐเป็นการชั่วคราวด้วยความหวังว่าจะปกป้องตำแหน่งงานให้กับชาวอเมริกันที่ตกงานในช่วงเวลาที่เกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

ความเข้มงวดในการออกวีซ่าทำงานของรัฐบาลสหรัฐ ส่งผลกระทบอย่างมากแก่บรรดาบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำของโลกที่ส่งวิศวกรจำนวนมากไปอเมริกาเหนือ อาทิ อินโฟซิส ของอินเดีย และทาทา คอนซัลแทนซี เซอร์วิสเซส แต่ถึงแม้จะเจอปัญหาเรื่องวีซ่าทำงานแต่บริษัทเหล่านี้ยังคงทำรายได้ในตลาดอเมริกาเหนือเพิ่มขึ้น โดยอินโฟซิส มีรายได้เพิ่มขึ้นประมาณ 10% ในปีงบการเงิน ซึ่งสิ้นสุดในเดือนมี.ค. เป็น 8,300 ล้านดอลลาร์

บรรดาบริษัทไอทีทั้งหลายที่เจอข้อจำกัดต่างๆรวมทั้งการออกวีซ่าทำงาน พยายามรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยวิธีการต่างๆ หนึ่งในนั้นคือว่าจ้างพนักงานในท้องถิ่นเพิ่ม ขณะเดียวกันก็ดำเนินนโยบายให้พนักงานทำงานจากที่บ้านหรือที่อื่นโดยไม่ต้องเข้าออฟฟิศ

“ เวนกาทาระมาน รามากฤษณันท์” อดีตประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการเงินของบริษัททาทา คอนซัลแทนซี เซอร์วิสเซส มีความเห็นว่า การทำงานทางไกลช่วยให้บริษัทสามารถจัดสรรตำแหน่งงานให้เหมาะสมกับสถานที่ต่างๆและวีซ่าการทำงานของพนักงานคนนั้นๆได้ ทั้งยังลดความเสี่ยงในการให้บริการด้านต่างๆของบริษัทด้วย

https:// www.bangkokbiznews.com/news/detail/952270