รพ.บุษราคัม Big cleaning จุดแรกรับผู้ป่วย จัดระบบ Fast track สำหรับกลุ่มเปราะบาง

รพ.บุษราคัม Big cleaning จุดแรกรับผู้ป่วย จัดระบบ Fast track สำหรับกลุ่มเปราะบาง

  • 0 ตอบ
  • 67 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Cindy700

  • *****
  • 3330
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




โรงพยาบาลบุษราคัม Big Cleaning ทำความสะอาดจุดแรกรับผู้ป่วย พร้อมปรับระบบจัดทางด่วนสำหรับกลุ่มเปราะบาง เด็ก ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ ผู้ป่วยติดเตียง พิการ ให้เข้ารับการประเมินก่อน และจัดโซนผู้ป่วยเพื่อง่ายต่อการดูแล

เมื่อวันที่ 1 ส.ค. นายแพทย์กิตติศักดิ์ อักษรวงศ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลบุษราคัม ให้สัมภาษณ์ว่า โรงพยาบาลบุษราคัม ได้จัดตั้งขึ้นมาเพื่อรับรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ตั้งวันที่ 14 พฤษภาคม 2564 ข้อมูลถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2564 ให้การดูแลผู้ป่วยแล้วจำนวน 13,275 ราย โดยในเช้าวันนี้ได้จัด Big cleaning ทำความสะอาดครั้งใหญ่ในบริเวณจุดแรกรับผู้ป่วย ทั้ง 2 จุด พร้อมปรับระบบประเมินผู้ป่วยแรกรับ โดยเพิ่มทางด่วน Fast Track สำหรับผู้ป่วยกลุ่มเปราะบาง เช่น ผู้ป่วยที่ต้องให้ออกซิเจน เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ ผู้ป่วยติดเตียง ผู้พิการ เป็นต้น ให้ได้รับการประเมินอาการก่อน และจัดโซนผู้ป่วยให้ง่ายต่อการดูแลรักษา เนื่องจากระยะหลังพบผู้ป่วยที่เป็นกลุ่มเปราะบางเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ยังได้เตรียมนำเก้าอี้รถเข็นเข้าไปยังหอผู้ป่วยจำนวน 231 ตัว และเก้าอี้นั่งสำหรับขับถ่ายข้างเตียงผู้ป่วย จำนวน 62 ตัว เก้าอี้อาบน้ำ จำนวน 5 ตัว เพื่ออำนวยความสะดวกผู้ป่วย และกำลังจัดหาเตียงลมสำหรับผู้ป่วยติดเตียงและผู้ป่วยวิกฤติเพิ่มเติม ต้องขอขอบคุณทหารจิตอาสาที่ให้ความร่วมมือ สนับสนุนในการเข้าไปอำนวยความสะดวกเคลื่อนย้ายผู้ป่วยและเปลี่ยนเตียงที่ชำรุด รวมทั้งได้รับความร่วมมือจากผู้ป่วยที่ไม่มีอาการเป็นจิตอาสา วัดความดันโลหิต วัดค่าออกซิเจนในเลือด ประสานงานเจ้าหน้าที่กับผู้ป่วย ซึ่งมีส่วนสำคัญที่ช่วยลดภาระงานของบุคลากรทางการแพทย์ และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติหน้าที่ได้เป็นอย่างดี

สำหรับสถานการณ์เตียงผู้ป่วยในโรงพยาบาลบุษราคัมวันนี้ มีผู้ป่วยที่นอนรักษาอยู่ 3,233 ราย เป็นกลุ่มสีเหลืองอ่อน 2,771 ราย สีเหลือง 287 ราย สีแดง 175 ราย โดยมีมาตรฐานการรักษาตามแนวทางของกรมการแพทย์ ซึ่งผู้ป่วยที่ไม่มีอาการหรืออาการน้อย ที่รักษาหายแล้วครบ 7 - 10 วัน สามารถให้กลับไปกักตัวที่บ้านต่อได้เพื่อที่จะมีเตียงไว้สำหรับผู้ป่วยรายอื่นๆ ต่อไป