ทำไม ‘เซมิคอนดักเตอร์’ ขาดแคลน และจะยืดเยื้อไปถึงเมื่อไหร่?

ทำไม ‘เซมิคอนดักเตอร์’ ขาดแคลน และจะยืดเยื้อไปถึงเมื่อไหร่?

  • 0 ตอบ
  • 71 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Joe524

  • *****
  • 2320
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




ภาวะขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ ก่อให้เกิดกระแสความปั่นป่วนตื่นตระหนกทั่วทั้งระบบเศรษฐกิจโลกมาระยะหนึ่งแล้ว เนื่องจากผลิตภัณฑ์ยุคใหม่ตั้งแต่รถยนต์ไปจนถึงเฮดโฟน ต่างต้องมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อการประมวลผลข้อมูล และเจ้าแผ่น “ชิป” เล็กๆ เหล่านี้คือหน่วยพื้นฐานของอุปกรณ์เช่นว่านี้ ดังนั้น เมื่อมันเกิด “ขาดตลาด” จึงส่งผลให้การผลิตสินค้านานาชนิดประสบการสะดุดติดขัดไปด้วย ทำไมเกิดภาวะขาดแคลนเช่นนี้ขึ้นมา และมีการทำอะไรไปแล้วบ้างในเรื่องนี้?

เซมิคอนดักเตอร์เกิดขาดแคลน เกี่ยวข้องกับโควิด-19 ระบาดอย่างไรหรือไม่?

วิกฤตโควิด-19 ที่เริ่มต้นขึ้นมาในช่วงประมาณต้นปี 2020 กระตุ้นให้ทั่วโลกมีการใช้จ่ายซื้อหาพวกข้าวของอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นอย่างมโหฬาร ตั้งแต่จอมอนิเตอร์เพิ่มเติมสำหรับผู้คนที่ต้องทำงานจากบ้านและต้องรีบจัดโฮมออฟฟิศขึ้นมา ไปจนถึงทีวีและเครื่องเล่นเกมคอนโซลสำหรับคลายความเหงาความเบื่อหน่ายเมื่อใครๆ ก็ต้องล็อกดาวน์จับเจ่าอยู่กับบ้าน

การที่โรงงานต้องปิดชั่วคราวสืบเนื่องจากโรคระบาด ส่งผลทำให้ปริมาณซัปพลายเซมิคอนดักเตอร์ซึ่งออกสู่ตลาดต้องลดจำนวนลงไปเช่นกัน

ครั้นเมื่อโรงงานกลับมาเปิดเดินเครื่องกันได้อีกครั้ง พวกผู้ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ยังคงออร์เดอร์ต่อเนื่องไม่หยุด ทำให้ยอดปริมาณตกค้างผลิตไม่ทันของพวกโรงงานชิปมีแต่สูงขึ้นไปเรื่อยๆ

เรื่องโรคระบาดใหญ่ไม่ได้เป็นปัจจัยเพียงประการเดียวเท่านั้น ยังมีภัยพิบัติอย่างอื่นๆ เช่น พายุรุนแรงที่ส่งผลให้การผลิตของโรงงานจำนวนมากในรัฐเทกซัสของสหรัฐฯต้องหยุดลงไปช่วงสั้นๆ ในเดือนกุมภาพันธ์ และไฟไหม้ใหญ่โรงงานแห่งหนึ่งในญี่ปุ่นเมื่อเดือนมีนาคม

ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ กับจีน ก็เป็นส่วนหนึ่งของเรื่องนี้ด้วยเหมือนกัน กล่าวคือ เมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว สหรัฐฯ ออกมาตรการแบบอ้างอภิสิทธิ์ล้ำเลยไปจากอาณาเขตของตนเอง ด้วยการสั่งห้ามพวกบริษัทต่างประเทศส่งชิปไปขายให้แก่ยักษ์ใหญ่เทคอย่างหัวเว่ย ตลอดจนบริษัทเทคจีนอื่นๆ หากว่าชิปเหล่านั้นมีการใช้ส่วนประกอบอเมริกันหรือเทคโนโลยีอเมริกัน

ปรากฏว่า หัวเว่ย มีการเตรียมรับมือโดยเริ่มต้นกว้านซื้อเซมิคอนดักเตอร์มาเก็บสต๊อกไว้ตั้งแต่ก่อนหน้ามาตรการแซงก์ชันพวกนี้จะมีผลบังคับใช้ ขณะที่บริษัทอื่นๆ ก็เดินตาม จึงกลายเป็นแรงบีบคั้นซัปพลายให้ตึงตัวเข้าไปใหญ่

อุตสาหกรรมอะไรบ้างที่ถูกกระทบกระเทือน?

เท่าที่ปรากฏอยู่ในเวลานี้ อุตสาหกรรมรถยนต์คือเหยื่อเคราะห์ร้ายที่มองเห็นได้ชัดเจนที่สุด โดยที่มีแบรนด์รถยนต์จำนวนมากถูกบังคับให้ต้องชะลอการผลิตของพวกตนในระยะไม่กี่เดือนที่ผ่านมา

ทั้งนี้ ช่วงต้นๆ ที่โควิด-19 เริ่มแพร่เชื้อรุนแรง พวกบริษัทรถยนต์ต่างพากันตัดลดการผลิตลง พวกบริษัทที่ซัปพลายชิปให้แก่พวกเขาจึงพากันหันไปหาลูกค้าจากเซกเตอร์อื่นๆ โดยเฉพาะพวกโรงงานทำสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งผลิตภัณฑ์ขายดีช่วงโรคระบาดและดีมานด์ในชิปมีแต่เพิ่มขึ้น

มาถึงตอนนี้ แบรนด์รถยนต์ทั้งหลายตั้งแต่โฟล์กสวาเกน ไปจนถึงวอลโว่ จึงต่างกำลังต้องดิ้นรนหนักเพื่อสั่งซื้อหาเซมิคอนดักเตอร์ เมื่อยอดขายรถของพวกเขากำลังกลับฟื้นชีพขึ้นมาอีกครั้ง

สำหรับพวกผู้ผลิตสมาร์ทโฟนนั้น เท่าที่เป็นอยู่ในตอนนี้ยังถือว่าค่อนข้างอยู่รอดปลอดภัย เนื่องจากยังคงมีชิปที่สะสมไว้ในสต๊อก ทว่าเมื่อเวลาผ่านไปพวกเขาก็กำลังเริ่มต้นจะประสบปัญหาเหมือนกัน

ทิม คุก ซีอีโอของแอปเปิล ออกมาเตือนในสัปดาห์ที่แล้วว่า ภาวะชิปขาดแคลนทำท่าจะกระทบการผลิตไอโฟนและไอแพดแล้ว ขณะที่พวกนักวิเคราะห์มองว่า บริษัทผลิตมือถือรายเล็กๆ ลงมาน่าจะถูกกระทบกระเทือนอย่างหนักหนาสาหัสมากกว่าด้วยซ้ำ

พวกเครื่องเล่นเกมคอนโซลดังๆ อย่าง เพลย์สเตชั่น 5 และเอกซ์บอกซ์ ซีรีส์ เอกซ์ ต่างเจอภาวะขาดแคลนชิปเช่นเดียวกัน

เรื่องนี้ทำให้พวกเกมเมอร์ทั้งหลายพากันส่งเสียงโวยวายดังสนั่น เนื่องจากต่างต้องการการ์ดกราฟิกที่ใช้ชิปพลังสูงๆ สำหรับการเล่น ในขณะที่พวกเขากำลังหันไปหายุทธศาสตร์ในการเล่นเกมที่แปลกใหม่ผิดแผกจากธรรมดามากยิ่งขึ้นทุกที

คนที่ตื้อสุดๆ ไม่มีวันยอมแพ้ง่ายๆ ถึงขั้นเข้าไปไลฟ์สตรีมกันทางยูทูบ และทวิต ซึ่งจะส่งเสียงเตือนทุกๆ ครั้งที่มีผู้เสนอขายการ์ดกันทางออนไลน์

ภาวะเช่นนี้จะจบลงเมื่อใด?

อันที่จริงรัฐบาลของหลายๆ ประเทศไม่ได้นิ่งนอนใจ กำลังเร่งรีบเพิ่มศักยภาพในการผลิตชิปของพวกตน

เมื่อเดือนพฤษภาคม เกาหลีใต้ประกาศแผนการลงทุนมูลค่ามหึมา 451,000 ล้านดอลลาร์ ในความพยายามที่จะวางตัวเองให้เป็นยักษ์ใหญ่ด้านเซมิคอนดักเตอร์อย่างหนักแน่นมั่นคง ขณะเดียวกัน วุฒิสภาสหรัฐฯโหวตเมื่อเดือนที่แล้วผ่านงบประมาณ 52,000 ล้านดอลลาร์สำหรับการอุดหนุนพวกโรงงานผลิตชิปในอเมริกา

สหภาพยุโรปนั้นกำลังหาทางเพิ่มส่วนแบ่งศักยภาพการผลิตชิปของตนขึ้นอีกเท่าตัว นั่นคือไปถึงระดับ 20% ของตลาดโลกให้ได้ภายในปี 2030

อย่างไรก็ดี โรงงานเป็นสิ่งที่ไม่สามารถคิดตัดสินใจแล้วก็เปิดเดินเครื่องกันได้ในชั่วเวลาแค่ข้ามคืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกทำเซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งกระบวนการผลิตซับซ้อนละเอียดอ่อนอย่างยิ่ง เกี่ยวข้องกับการอัดสารเคมีต่างๆ ชั้นแล้วชั้นเล่าลงบนแผ่นซิลิคอน

“การสร้างศักยภาพการผลิตใหม่ๆ ขึ้นมาเป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลา ยิ่งสำหรับโรงงานผลิตชิปแห่งใหม่แล้วต้องการ 2 ปีครึ่งขึ้นไป ดังนั้น การขยายงานแทบทั้งหมดที่กำลังเริ่มต้นขึ้นมาในตอนนี้จะไม่ทำให้มีศักยภาพการผลิตเพิ่มขึ้นมาจริงๆ หรอกจนกว่าจะถึงปี 2023” นี่เป็นความเห็นของ ออนเดรจ เบอร์คัคคี ซีเนียร์พาร์ตเนอร์และโค-ลีดเดอร์ด้านการดำเนินงานเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลก ณ บริษัทที่ปรึกษา แมคคินซีย์

เขากล่าวต่อไปว่า ปัจจัยระยะยาวด้านต่างๆ บ่งชี้เช่นกันว่า ดีมานด์ “ชิป” ในทั่วโลกจะยังคง “เติบโตกันในระดับไฮเปอร์” ปัจจัยเช่นว่ามี อาทิ แนวโน้มที่บริษัทต่างๆ หันไปจัดเก็บข้อมูลของพวกเขาในคลาวด์ ซึ่งทำให้ต้องมีการสร้างศูนย์ข้อมูลกันมากขึ้นๆ เรื่อยๆ โดยที่แต่ละแห่งต่างต้องมีการใช้ชิปปริมาณมหาศาล

ทางด้าน ฌอน-มาร์ค เชรี ซีอีโอของ เอสทีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ บริษัทผลิตชิปสัญชาติฝรั่งเศส-อิตาเลียน บอกว่า ออร์เดอร์สำหรับปีหน้าที่บริษัทของเขาได้มาเวลานี้เกินเลยศักยภาพการผลิตไปเรียบร้อยแล้ว

เขากล่าวด้วยว่า มีการรับรู้รับทราบกันอย่างกว้างขวางภายในอุตสาหกรรมนี้ว่า ภาวะขาดแคลน “จะยืดเยื้อไปจนถึงปีหน้าเป็นอย่างต่ำที่สุด”

พวกนักวิเคราะห์บอกว่า การตึงตัวที่ดำเนินต่อไป ย่อมหมายถึงพวกผู้บริโภคจะต้องซื้อสินค้าในราคาสูงขึ้น

เอสอีบี บริษัทฝรั่งเศสที่เป็นผู้ผลิตอุปกรณ์ใช้ในครัว อย่างเช่น เครื่องปั่น ออกมาแจ้งเรียบร้อยแล้วว่า กำลังถูกบีบบังคับให้ต้องขึ้นราคาสินค้าของบริษัท

(เก็บความจากเรื่อง The chips are down : why there's a semiconductor shortage Q&A ของสำนักข่าวเอเอฟพี)

https:// m.mgronline.com/around/detail/9640000075297