AMR ชกข้ามรุ่น สู่สังเวียนใหญ่ !

AMR ชกข้ามรุ่น สู่สังเวียนใหญ่ !

  • 0 ตอบ
  • 81 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Jenny937

  • *****
  • 2838
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 


AMR ชกข้ามรุ่น สู่สังเวียนใหญ่ !
« เมื่อ: สิงหาคม 01, 2021, 11:09:14 am »



บมจ. เอเอ็มอาร์ เอเซีย หรือ AMR คือผู้ประกอบการสัญชาติไทยรายแรกที่เบียดผู้ประกอบการต่างชาติ ในงานออกแบบ ติดตั้ง ระบบอาณัติสัญญาณ รถไฟฟ้าสายสีเขียว 2 สถานีแรก ช่วงสถานีตากสิน-วงเวียนใหญ่ ซึ่งเป็นรถไฟฟ้าสายแรกที่ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปฝั่งธนบุรี ซึ่งบริษัทสามารถดำเนินการได้ นี่คือ ศักยภาพในการคว้าอีก 5 สถานี ในเส้นทางหมอชิต-คูคต , แบริ่ง-สมุทรปราการ

และในปี 2561 โอกาสทางธุรกิจครั้งใหม่คือ การออกแบบรถไฟฟ้าสายสีทอง ที่บริษัททำทั้งระบบตั้งแต่ระบบอาณัติสัญญาณ ไฟฟ้าสื่อสาร และการติดตั้งระบบประตูกับชานชลา 

และมูลค่างานโครงการขนาดใหญ่ของรัฐระดับ 'แสนล้านบาท' คือจังหวะและโอกาสสร้างการเติบโตมหาศาล !!

นี่คือ 'จุดเด่น' ของ 'เอเอ็มอาร์ เอเซีย' ผู้ประกอบธุรกิจด้านวิศวกรรมออกแบบและเชื่อมต่อระบบไอทีโซลูชั่น กำลังจะเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) จำนวน 150 ล้านหุ้น ราคาหุ้นละ 6.90 บาท มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) 0.50 บาท คิดเป็น 25% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและเรียกชำระแล้วทั้งหมดภายหลังการเสนอขายครั้งนี้ และเข้าซื้อขาย (เทรด) 2 ส.ค. นี้ 

ปัจจุบัน AMR มีผลิตภัณฑ์หรือบริการของบริษัทออกเป็น 3 ประเภท ประกอบด้วย 1. งานให้บริการวางระบบ ด้าน SI แบบครบวงจร ครอบคลุมงานวางระบบคมนาคมขนส่ง (Transportation Solution) ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ( ICT) ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และความปลอดภัย และระบบโซลูชั่นเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเมืองอัจฉริยะ (Smart City) 

2. งานให้บริการดูแลรักษาและซ่อมบำรุง ระบบเครือข่ายและเทคโนโลยีต่างๆ ให้กับหน่วยงานต่างๆ โดยมีความสามารถในการให้บริการแบบครบวงจร ได้แก่ งานซ่อมบำรุงเชิงแก้ไข (CM) และงานซ่อมบำรุงเชิงป้องกัน (PM) เป็นต้น 

และ 3. การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ไอทีโซลูชั่น ทั้งในรูปแบบฮาร์ดแวร์ (Hardware) และซอฟต์แวร์ (Software) สำหรับลูกค้าที่ต้องการแพลตฟอร์มพื้นที่ทำงานดิจิทัลในการบริหารจัดการในรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า Workspace และการรักษาความปลอดภัยในการเข้าถึงแอบพลิเคชั่นที่จะช่วยให้พนักงานในองค์กรทำงานผ่านอุปกรณ์ต่างๆ เป็นต้น 

'มารุต ศิริโก' กรรมการผู้จัดการ บมจ. เอเอ็มอาร์ เอเซีย หรือ AMR แจกแจงสตอรี่สร้างการเติบโตให้ 'กรุงเทพธุรกิจ BizWeek'] ว่า ด้วยธุรกิจของบริษัทมีศักยภาพเติบโตได้อีกมาก สะท้อนผ่านทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับระบบเทคโนโลยีด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นด้านโทรคมนาคม , ด้านพลังงาน , ด้านระบบไอทีและโซลูชั่นต่าง ๆ โดยมีทีมวิศวกรที่เชี่ยวชาญ มีประสบการณ์การทำงานมากว่า 20 ปี และมีฝีมือเทียบเท่าบริษัทข้ามชาติ 

การขยับตัวเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ในครานี้ เขายอมรับว่า เมื่อต้องการ 'ปลดล็อก' การเติบโตของธุรกิจ เงินระดมทุนจำนวน 985.24 ล้านบาท เพื่อไปขยายธุรกิจและเพิ่มโอกาสการรับงานที่มีมูลค่าระดับมากกว่าพันล้านบาท และสร้างความเชื่อมั่นให้กับพันธมิตรและคู่ค้า

สอดคล้องกับเป้าหมายของการเข้ามาระดมทุนครั้งนี้ คือ ลงทุนในการพัฒนาธุรกิจด้านระบบคมนาคมขนส่ง ด้านพลังงาน และเมืองอัจฉริยะ จำนวน 837.46 ล้านบาท ระยะเวลาใช้เงินปี 2564-2566 ลงทุนสำหรับการวิจัยและพัฒนาด้านการให้บริการและต่อยอดเทคโนโลยี จำนวน 49.26 ล้านบาท และเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินงาน จำนวน 98.52 ล้านบาท 

'การระดมทุนนอกจากจะช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งด้านการเงินแล้ว ยังส่งเสริมความน่าเชื่อถือของบริษัท และเพิ่มความไว้วางใจให้กับลูกค้าและพันธมิตรต่างๆ เชื่อว่าจะช่วยเพิ่มโอกาสในการเข้ารับงานจากหน่วยงานราชการและบริษัทเอกชนได้ในอนาคต'

หากพิจารณาการเติบโตขององค์กรแห่งนี้จะพบว่า ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (ปี 2561-2563) มีกำไรสุทธิเติบโตอยู่ที่ 140.99 ล้านบาท 27.39 ล้านบาท และ 247.55 ล้านบาท ขณะที่ รายได้อยู่ที่ 1,917.83 ล้านบาท 1,467.62 ล้านบาท และ 2,584.07 ล้านบาท ตามลำดับ ล่าสุด ไตรมาส 1 ปี 2564 กำไรสุทธิอยู่ที่ 29.47 ล้านบาท และรายได้ 337.66 ล้านบาท 

เขา บอกต่อว่า สำหรับแผนธุรกิจ 3-5 ปี (2564-2568) บริษัทมีเป้าหมายรับงานโครงการขนาดใหญ่มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการขยายธุรกิจในส่วนของภาคบริการเพื่อสร้างพอร์ต 'รายได้ประจำ' (Revenue Income) อย่าง ระบบคมนาคมขนส่งสายรอง (Feeder Line) และ ด้านพลังงาน อย่าง การพัฒนาสถานีชาร์จรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า (EV) รวมทั้งเมืองท่องเที่ยวอัจฉริยะ หรือ สมาร์ทซิตี้ 

โดยบริษัทตั้งเป้าสัดส่วนรายได้พอร์ตรายได้ประจำในอีก 5 ปีข้างหน้า อยู่ที่สัดส่วน 50% จากปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 10% และขยับเพิ่มเป็น 20-30% ในช่วง 1-2 ปีข้างหน้า เพื่อเป็นการเติบโตที่แข็งแกร่งและยั่งยืนในอนาคต 

'ที่ผ่านมา AMR ได้เข้าไปเป็นผู้ออกแบบติดตั้งที่ชาร์จแบตเตอรี่มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า ซึ่งมีแผนขยายจากจุดเล็ก ๆ ไปสู่ระดับประเทศ คาดว่าภายใน 1-2 ปีข้างหน้า คนไทยจะได้มีโอกาสเห็น EV Charging Station มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าที่ออกแบบโดย AMR อีกด้วย'

อย่างไรก็ตาม ในอนาคตการดำเนินธุรกิจของ AMR มีโอกาสที่จะขยายตัวได้อีกมากตามการขยายตัวด้านสาธารณูปโภคพื้นฐานของประเทศ ทั้งประเภทระบบเทคโนโลยีคมนาคมและการเดินรถไฟฟ้า พลังงานและระบบสื่อสาร โดยภาครัฐเตรียมเปิดประมูลงานใหม่อย่างต่อเนื่อง และในปัจจุบันบริษัทมีมูลค่างานในมือ (Backlog) ในมือแล้วประมาณ 1,451.20 ล้านบาท ซึ่งจะทยอยรับรู้รายได้อย่างต่อเนื่องในช่วง 1-2 ปี นับจากนี้


นอกจากนี้ในปี 2565 ภาครัฐมีแผนเตรียมเปิดประมูลงานใหม่อย่างต่อเนื่อง ที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นรถไฟรางคู่ รถไฟฟ้าในเมือง รวมไปถึงรถไฟในต่างจังหวัด โดย 20-30% ของโครงการเกี่ยวข้องกับการวางระบบ ทำให้เห็นโอกาสการเติบโตได้อีกมากในช่วงหลาย 10 ปีข้างหน้าอีกมาก 

ท้ายสุด 'มารุต' บอกไว้ว่า ที่ผ่านมาอยู่เบื้องหลังความสำเร็จในการเป็นผู้ให้บริการงานออกแบบติดตั้งระบบวิศวกรรมไอทีโซลูชั่น ให้รัฐและเอกชนชั้นนำไม่ว่าเป็นระบบบริหารจัดการน้ำ และ กทม. และวางระบบเดินรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน และรถไฟรางคู่ต่าง ๆ ซึ่งเป็นงานระดับเมกะโปรเจคของประเทศ

https:// www.bangkokbiznews.com/news/detail/952000