ไขข้อข้องใจ 'ฟันคุด' คืออะไร หากไม่ถอนจะเป็นอันตรายหรือไม่?

ไขข้อข้องใจ 'ฟันคุด' คืออะไร หากไม่ถอนจะเป็นอันตรายหรือไม่?

  • 0 ตอบ
  • 72 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

dsmol19

  • *****
  • 2466
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 



ฟันคุด (ภาษาอังกฤษ : Wisdom Tooth) ปัญหาในช่องปากที่ไม่ควรมองข้าม เพราะหากรู้สึกปวดฟันคุดขึ้นมาเมื่อไร อาจเป็นสัญญาณบอกว่าช่องปากและเหงือกของเรากำลังมีปัญหา ควรปรึกษาทันตแพทย์เพื่อหาทางรักษาอย่างถูกวิธี บทความนี้จะพาไปไขข้อสงสัยเกี่ยวกับฟันคุด มีอาการอย่างไร และหากไม่ถอน จะเป็นอันตรายหรือไม่?

ฟันคุด คือ ฟันที่ไม่สามารถขึ้นมาบนช่องปากได้ตามปกติ เนื่องจากพื้นที่ของขากรรไกรไม่เพียงพอ หรืออาจจะมีสิ่งขัดขวางไม่ให้ฟันโผล่ขึ้นมา สาเหตุของฟันคุดส่วนใหญ่จะเกิดจากขนาดขากรรไกรที่ไม่สัมพันธ์กับขนาดของฟัน ฟันคุดมักจะเกิดขึ้นกับฟันกรามซี่สุดท้าย พบมากในช่วงอายุ 18-20 ปี แต่ทั้งนี้ ฟันคุดก็ไม่ได้เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับทุกคน เพราะขากรรไกรของบางคนก็ใหญ่พอที่จะรองรับฟันซี่ด้านในสุดให้โผล่ขึ้นมาได้ และกลายเป็นฟันกรามธรรมดาๆ ซี่หนึ่งนั่นเอง

ในรายที่ฟันคุดไม่สามารถโผล่ขึ้นมาได้ จำเป็นต้องผ่าออก เพราะไม่เช่นนั้นจะส่งผลต่อฟันซี่ใกล้เคียง ทำให้มีอาการอักเสบได้ หรือรายที่ฟันคุดโผล่พ้นเหงือกขึ้นมาแล้ว แต่ไม่สามารถเรียงตัวได้ตามปกติ ก็ต้องถอนฟันคุด เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในช่องปากอื่นๆ ตามมา สำหรับคนที่สงสัยว่าฟันคุดเป็นยังไง สังเกตจากภาพข้างล่างนี้ได้


ฟันคุดมีกี่แบบ? ส่วนลักษณะของฟันคุดก็มีหลายแบบด้วยกัน เช่น ฟันคุดขึ้นเต็มซี่ ฟันคุดแบบมีเหงือกปกคลุม เป็นต้น แต่หากจะแบ่งลักษณะของฟันคุด ตามลักษณะการขึ้นของฟันคุด สามารถแบ่งได้ 3 แบบ ได้แก่ 

ฟันคุดที่ขึ้นในแนวตรง 
ฟันคุดที่ขึ้นในแนวนอน 
ฟันคุดที่ขึ้นแนวเฉียง
สำหรับคนที่ประสงค์จะจัดฟัน : ทันตแพทย์จะเอกซเรย์ตรวจดูตำแหน่งของฟันคุด ซึ่งส่วนใหญ่หากมีปัญหาจะแนะนำให้ผ่าฟันคุดออก เนื่องจากอาจส่งผลกระทบต่อแนวฟันกราม รวมถึงเบียดฟันซี่ต่างๆ ขณะที่กำลังจัดฟันอยู่ก็เป็นได้ ซึ่งจะทำให้การจัดฟันไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร

ลักษณะอาการฟันคุด สังเกตได้จากอะไรบ้าง? 
อาการปวดฟันคุดเป็นความรู้สึกทรมานที่หลายคนไม่อยากเผชิญ นอกจากทำให้เคี้ยวอาหารไม่สะดวกแล้ว ในบางรายอาจรู้สึกปวดจนนอนไม่หลับ เนื่องจากฟันคุดทำให้เหงือกบวม โดยเฉพาะเมื่อฟันคุดงอก จะรู้สึกเจ็บเหงือก จนต้องหายามากินบรรเทาอาการดังกล่าว สำหรับอาการฟันคุดที่สามารถสังเกตได้ง่ายๆ ด้วยตนเอง ได้แก่

รู้สึกปวดฟันกรามบริเวณซี่ในสุด
เคี้ยวอาหารไม่สะดวก ปวดหน่วงๆ ที่ขากรรไกร
เริ่มมีอาการหน้าบวม หรือหน้าบวมข้างเดียว
เหงือกบวมแดง มีอาการอักเสบ
บางรายอาจเป็นฝีในช่องปาก

ทำไมต้องเอาฟันคุดออก ไม่ผ่า ไม่ถอน ได้หรือไม่?
หากฟันคุดไม่สามารถโผล่ขึ้นมาตามแนวฟันได้ปกติ แต่มีลักษณะเอียงเป็นแนวนอน หรือซ้อนทับฟันซี่อื่นๆ อยู่ใต้เหงือก จะทำให้รู้สึกปวด มีอาการเหงือกบวมและอักเสบ

แต่หากฟันคุดโผล่ขึ้นมาแล้ว แต่อาจจะขึ้นมาได้เพียงบางส่วน จะทำให้แปรงทำความสะอาดยาก เพราะเป็นฟันซี่สุดท้ายที่อยู่ลึกสุด ฟันคุดจึงกลายเป็นแหล่งสะสมของเศษอาหารและแบคทีเรีย เนื่องจากบริเวณรอบฟันคุดอาจมีเศษอาหารติดได้ง่าย โดยจะส่งผลกระทบให้มีอาการต่างๆ ตามมา เช่น

ฟันผุง่าย
มีกลิ่นปาก
เหงือกอักเสบ
หน้าบวม/แก้มบวม
อ้าปากไม่ขึ้น
รู้สึกปวดหัว
เกิดถุงน้ำใกล้ขากรรไกร
ดังนั้น หากอยากรู้ว่าลักษณะฟันคุดของเราควรผ่า หรือถอนออกหรือไม่นั้น? จะต้องปรึกษาทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยแพทย์จะพิจารณาจากฟิล์มเอกซเรย์เพื่อวินิจฉัยว่าฟันคุดส่งผลกระทบมากน้อยแค่ไหนนั่นเอง


ข้อควรระวังก่อน และหลังผ่าฟันคุด
ก่อนผ่าฟันคุดต้องทำอย่างไร?
ไม่ว่าจะเป็นการผ่าฟันคุด หรือถอนฟันคุด ก็ควรปรึกษาทันตแพทย์ก่อนเสมอ โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับโรคเบาหวาน และโรคเลือด รวมถึงผู้ที่กินยาเป็นประจำ เนื่องจากหลังการผ่าฟันคุดอาจต้องกินยาละลายลิ่มเลือด ซึ่งในบางรายไม่สามารถกินได้ เพราะจะส่งผลต่อโรคประจำตัว

ผ่าฟันคุด เจ็บไหม และกี่วันหาย?
ทันตแพทย์จะฉีดยาชา ทำให้เราไม่รู้สึกเจ็บปวดระหว่างที่ทันตแพทย์กำลังทำการผ่า หรือถอนฟันคุด หลังจากยาชาหมดฤทธิ์ ทันตแพทย์จะพิจารณาการสั่งยาให้กินเพื่อบรรเทาอาการปวด เช่น ยาแก้ปวด ยาแก้อักเสบ เป็นต้น หลังจากนั้นประมาณ 1 สัปดาห์ ทันตแพทย์จะนัดมาตัดไหม หรือตรวจดูอาการอีกครั้ง


ผ่าฟันคุด ปัจจุบันราคาเท่าไร?
สำนักงานประกันสังคม ให้ผู้ประกันตนมีสิทธิ์ใช้บริการทางทันตกรรมไม่เกิน 900 บาทต่อปี สำหรับค่าผ่าฟันคุดโรงพยาบาลรัฐจะมีหลายราคาด้วยกัน เริ่มตั้งแต่ราคาหลักร้อยถึงหลักพันต้นๆ ส่วนโรงพยาบาลเอกชน หรือคลินิกเอกชน เริ่มต้นที่ประมาณซี่ละ 1,500-5,000 บาท ขึ้นอยู่กับความยาก-ง่าย และอัตราค่าบริการของแต่ละที่

การดูแลตัวเองหลังผ่าฟันคุด มีข้อห้ามอะไรบ้าง?
ไม่ควรบ้วนเลือด หรือบ้วนปากแรงๆ เป็นเวลา 1 ชั่วโมงหลังผ่าเสร็จ หากเว้นจากการแปรงฟันแรงๆ ในช่วงแรก แต่ให้หันมาใช้น้ำเกลือบ้วนเบาๆ เพื่อทำความสะอาดช่องปาก และกำจัดแบคทีเรียแทน ควรงดอาหารเผ็ดหลังผ่าฟันคุด เพราะจะทำให้แผลหายช้า

ฟันคุดเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับสุขภาพอนามัยในช่องปากที่ทุกคนไม่ควรมองข้าม หากรู้สึกปวด หรือสงสัยว่ามีปัญหาฟันคุด ควรปรึกษาทันตแพทย์ เพื่อหาวิธีดูแลรักษาอย่างถูกต้อง.