Cluster Concepts – ว่าด้วยกรอบระเบียงเศรษฐกิจที่สอง หรือสาม หรือสี่ ….. ตอนที่ 1

Cluster Concepts – ว่าด้วยกรอบระเบียงเศรษฐกิจที่สอง หรือสาม หรือสี่ ….. ตอนที่ 1

  • 0 ตอบ
  • 78 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Chigaru

  • *****
  • 2319
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 





โดย ดร.อรุณ ศิริจานุสรณ์ (นักวิชาการอิสระ / ผู้อำนวยการสถาบันพรีโม่ อะคาดิมี่) 40

คลัสเตอร์...เป็นคำที่ติดหูของผู้คนในแวดวงอุตสาหกรรมมาช่วงระยะหนึ่งแล้ว จากนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาล เพื่อขับเคลื่อนประเทศไปสู่มิติใหม่ หรือประเทศไทย 4.0

คลัสเตอร์...เป็นคำที่ติดหูของผู้คนในแวดวงอุตสาหกรรมมาช่วงระยะหนึ่งแล้ว จากนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาล เพื่อขับเคลื่อนประเทศไปสู่มิติใหม่ หรือประเทศไทย 4.0 โดยมีการดำเนินงานก้าวหน้าเป็นลำดับ ตั้งแต่ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2558 เห็นชอบนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในรูปแบบคลัสเตอร์ พร้อมเพิ่มเติมการกำหนดกลุ่มอุตสาหกรรมศักยภาพเป้าหมาย หรือ 10 S-curve ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2558 เพื่อขับเคลื่อนประเทศไปสู่มูลค่าทางเศรษฐกิจใหม่ โดยล่าสุดได้มีการมุ่งเป้าสู่การพัฒนาในเชิงพื้นที่ในโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor Development: EEC) ผลักดันให้พื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา เป็นพื้นที่เชิงยุทธศาสตร์สาคัญในการพัฒนา 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม

ซึ่งไม่น่าแปลกใจเพราะเขตพื้นที่ดังกล่าว เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมการผลิตของประเทศ ที่มีความพร้อมทั้งด้านเครือข่ายอุตสาหกรรมและโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ อีกทั้งยังเป็นพื้นที่เดิมที่มีการพัฒนามาเป็นระยะเวลามากกว่า 30 ปีแล้ว อย่างไรก็ตาม อาจมีหลายท่านสงสัยว่า หากมีการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจแห่งที่สอง หรือสาม หรือสี่ ….. ในเขตพื้นที่ภูมิภาคอื่น ๆ ควรจะส่งเสริมให้มีการพัฒนาคลัสเตอร์อุตสาหกรรมใด และควรมีแนวทางการพัฒนาคลัสเตอร์อย่างไรจึงจะเหมาะสม แต่ก่อนที่จะไขปัญหาที่เราสงสัยกันต่อไป การเริ่มต้นที่การทำความเข้าใจแนวคิดพื้นฐานว่าจริง ๆ แล้วคลัสเตอร์ คือ อะไรกันแน่

คลัสเตอร์คืออะไร?

ทำไมบริษัทของประเทศหนึ่ง ถึงมีขีดความสามารถสูงกว่าบริษัทของประเทศอื่น ๆ ในสาขาอุตสาหกรรมเดียวกัน เป็นคำถามที่มีนักเศรษฐศาสตร์ และนักวิชาการหลาย ๆ ท่านได้ทำการศึกษามาอย่างต่อเนื่อง โดยข้อสรุปหนึ่ง ที่ได้รับการยอมรับ นอกเหนือจากทฤษฎีความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ (Comparative Advantage) ซึ่งให้ความสำคัญไปที่ปัจจัยพื้นฐานสำคัญทางเศรษฐกิจ อาทิ ทรัพยากร ทุน และแรงงานแล้ว คือ การระบุถึงความสำคัญของพื้นที่ที่ตั้งของบริษัท ต่อขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากพื้นที่นั้น

โดยองค์ประกอบของปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อการรวมกลุ่มของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในธุรกิจสาขาเฉพาะในพื้นที่ใกล้เคียงกันอย่างเหมาะสม โดยการรวมกลุ่มของกิจกรรมทางเศรษฐกิจดังกล่าว มีชื่อเรียกที่ติดหูกันว่า “คลัสเตอร์” ซึ่งหมายถึง การรวมตัวกันของกลุ่มบริษัทในสาขาเฉพาะ ซัพพลายเออร์ที่มีความเฉพาะ ธุรกิจให้บริการ บริษัทในอุตสาหกรรมที่มีความเกี่ยวเนื่อง และสถาบันสนับสนุนที่เกี่ยวข้อง (อาทิ สถาบันการศึกษา และฝึกอบรม สถาบันวิจัยพัฒนา ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ) มาร่วมดำเนินกิจการอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน ในระดับที่เพียงพอต่อการพัฒนาความเชี่ยวชาญ การบริการ ทรัพยากร การจัดหาวัตถุดิบ รวมถึงทักษะ และความสามารถของกำลังแรงงาน ที่มีความพิเศษ ความหมายของคลัสเตอร์ ในหลาย ๆ งานศึกษา ได้นิยามไว้แตกต่างกันบ้าง หากแต่มีแนวคิดที่เห็นพ้องร่วมกันในความเป็นคลัสเตอร์ใน 3 ประเด็น ซึ่งมีความหมายลึก กว่าการรวมกลุ่มของเครือข่ายผู้ประกอบการดังที่ใช้กันโดยทั่วไป

ประเด็นแรก คลัสเตอร์ถูกมองว่าเป็นการกระจุกตัวทางภูมิศาสตร์ของบริษัท ที่มีความเฉพาะ แรงงานที่มีทักษะสูง และสถาบันสนับสนุน ซึ่งช่วยก่อให้เกิดการประหยัดจากการอยู่เป็นกลุ่ม และเพิ่มการกระจายตัวขององค์ความรู้ จากการอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน สร้างเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดขีดความสามารถการแข่งขันพื้นที่ได้

ประเด็นที่สอง คลัสเตอร์เป็นโครงสร้างเชิงระบบที่ช่วยสนับสนุนและจัดหาบริการที่มีลักษณะเฉพาะและจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับบริษัทเฉพาะกลุ่ม ตัวอย่างเช่น การช่วยจัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐานที่มีความเฉพาะและซับซ้อนสูง บริการทางการเงิน บริการด้านการวิจัย และพัฒนาเฉพาะด้าน รวมถึงบริการสนับสนุนการประกอบธุรกิจ หรือการพัฒนาฝึกอบรมบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะ เป็นต้น

ประเด็นที่สาม คลัสเตอร์มีลักษณะเป็นโครงสร้างเชิงสถาบัน หรือกาวทางสังคม ที่เชื่อมประสานระหว่างผู้เล่นด้านนวัตกรรมทั้งมหาวิทยาลัย กลุ่มธุรกิจ และหน่วยงานภาครัฐ หรือเครือข่ายระหว่าง 3 ฝ่าย (Golden triangle หรือ Triple Helix) ที่มีความแตกต่างเข้าไว้ด้วยกัน

คลัสเตอร์ จึงมีความสำคัญในแง่ที่ช่วยสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ สร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นประโยชน์ต่อการตั้งอยู่ของกลุ่มบริษัท และดึงดูดกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญให้เข้ามาสู่พื้นที่ ก่อให้เกิดการจ้างงาน และการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาค และเป็นกิจกรรมที่ส่งผลให้เกิดผลกระทบทางบวกต่อการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันแก่บริษัท หรืออุตสาหกรรมที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ได้ถึง 3 ทาง คือ ช่วยเพิ่มผลิตภาพของบริษัท หรืออุตสาหกรรม ส่งเสริมการยกระดับศักยภาพด้านนวัตกรรม รวมถึงกระตุ้นให้เกิดรูปแบบทางธุรกิจใหม่ที่สนับสนุนการเกิดนวัตกรรมและการขยายตัวของคลัสเตอร์ ซึ่งทาให้บริษัทสามารถหาแนวทางใหม่ หรือแนวทางที่ดีกว่าในการแข่งขันภายในอุตสาหกรรม และสร้างนวัตกรรมได้เร็วกว่าตลาด

ติดตามตอนที่ 2 ว่าด้วย คลัสเตอร์อะไรที่ควรพัฒนาในภูมิภาค ???

เอกสารอ้างอิง:
Bresnahan, T., Gambardella, A., and Saxenian A. (2001). Old economy' inputs for 'new economy' outcomes: cluster formation in the new Silicon Valleys. Industrial and Corporate Change, Oxford University Press, No.4 Vol.10, 2001.
Dzisah, J. and Etzkowitz, H. (2008). Triple helix circulation: the heart of innovation and development. International Journal of Technology Management & Sustainable Development, Vol 7, No 2, Sep 2008, pp. 101-115(15).
Europe INNOVA. (2008). The concept of clusters and cluster policies and their role for competitiveness and innovation: main statistical results and lessons learned. Commission staff working document SEC (2008) 2637.
International Trade Department. (2009). Clusters for competitiveness. A practical guide and policy implications for developing cluster initiatives. 2009.

https:// www.bangkokbiznews.com/news/detail/951739