กลุ่มป่า ‘แก่งกระจาน’ มรดกโลกแห่งใหม่ของไทย

กลุ่มป่า ‘แก่งกระจาน’ มรดกโลกแห่งใหม่ของไทย

  • 0 ตอบ
  • 86 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Jessicas

  • *****
  • 2373
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 





มีข่าวที่น่ายินดีจากการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่ 44 ที่จีน เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2564 ที่ประกาศขึ้นทะเบียน กลุ่มป่าแก่งกระจาน ให้เป็น มรดกโลกทางธรรมชาติ แห่งใหม่ของประเทศไทย หลังจากก่อนนี้มีห้วยขาแข้ง-ทุ่งใหญ่นเรศวร และกลุ่มป่าเขาใหญ่-ดงพญาเย็น ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนในปี พ.ศ.2548

หลังจากนั้น ทีมทำงานที่จะเสนอชื่อผืนป่า แก่งกระจาน ก็เตรียมความพร้อมทุกอย่างที่จะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของเขา ปั้นแต่งพื้นที่มาเป็นเวลา 10 ปี พอปี พ.ศ. 2558 ก็เสนอครั้งแรก ผลคือตกไปไม่ได้รับพิจารณา พอปี 2558 -2559 ก็เสนอ และก่อนนี้ในปี 2562 ก็เสนออีก แต่ก็ตกไปทุกครั้ง ไม่ได้รับการอนุมัติ ทุกครั้งก็จะมีข้อให้กลับมาแก้ไข และเตรียมความพร้อม ปรับปรุงตามข้อแนะนำจนมาถึงการประชุมครั้งที่ 44 ที่จีนเป็นเจ้าภาพ ซึ่งเป็นการประชุมทางไกล ผืนป่า “แก่งกระจาน” จึงได้รับการพิจารณาให้ขึ้นทะเบียนเป็น มรดกโลก ทางธรรมชาติแห่งใหม่ของไทย นับว่าความพยายามของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ที่เฝ้าเพียรพยายามมาถึง 16 ปี จนกระทั่งได้ขึ้นทะเบียนดังกล่าวนั้นไม่เสียเปล่า


น้ำตกผาไทร อช.กุยบุรี

พื้นที่ของกลุ่มผืนป่า “แก่งกระจาน” ที่ขึ้นทะเบียน “มรดกโลก” ในครั้งนี้ เป็นพื้นที่ป่าทางด้านตะวันตก ที่เชื่อมต่อติดกับป่าของประเทศเมียนมา กลายเป็นป่าผืนใหญ่ของภูมิภาค ประกอบไปด้วยพื้นที่จากล่างสุดของอุทยานแห่งชาติกุยบุรี (พื้นที่ 969 ตร.กม.) ในเขตอำเภอกุยบุรี และอำเภอหัวหิน แล้วต่อเชื่อมต่อกับ อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ที่ครอบคลุมพื้นที่มาตั้งแต่ อ.หัวหิน จ.ประจวบฯ เข้ามา อ.แก่งกระจาน และ อ.หนองหญ้าปล้อง ของ จ.เพชรบุรี (พื้นที่ 2,478 ตร.กม.) กระทั่งเข้ามาเขต อ.บ้านคา จ.ราชบุรี ซึ่งมีอุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน (พื้นที่ 349.59 ตร.กม.) และส่วนต่อเชื่อมระหว่าง อ.บ้านคา และ อ.สวนผึ้งของราชบุรีก็มีเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าลุ่มน้ำภาชี (พื้นที่ 489.31 ตร.กม.) เมื่อดูในแผนที่แล้วจะเห็นว่า “มรดกโลก” แห่งใหม่กลุ่มป่า “แก่งกระจาน” นั้น ครอบคลุมพื้นที่เป็นแนวยาวทางตะวันตกขึ้นมานับร้อยกิโลเมตรทีเดียว จึงเป็นผืนป่าใหญ่ผืนหนึ่งของประเทศทีเดียว


ป่าที่เป็นผืนใหญ่ต่อเนื่องกันมันจะเป็นหลักประกันให้สัตว์ป่าได้อยู่กันอย่างมีความสุข อพยพโยกย้ายตามพฤติกรรม ได้อย่างมีอิสระเสรี สืบพันธุ์พงศ์เผ่าต่อไป ในอุทยานแห่งชาติกุยบุรี ถึงกับได้สมญานามว่าเป็นซาฟารีเมืองไทย มีทุ่งหญ้าที่กว้างใหญ่ ที่สัตว์ป่า ออกมาหากิน เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ทำเงินเข้าสู่จังหวัดและประเทศอย่างมาก เพราะโปรแกรมปิดท้ายก่อนที่นักท่องเที่ยวที่มาหัวหินจะกลับที่พัก คือการมาดูสัตว์ที่อุทยานกุยบุรีนี่เอง แต่ละวัน จะมีช้าง วัวแดง กระทิง ออกมาให้เห็นทุกวัน


กิจกรรมดูสัตว์ป่า ของ อช.กุยบุรี ที่ได้รับความนิยม

มาที่ “อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน” ที่นี่แทบไม่ต้องบรรยายมากเลยว่ามีคุณค่าอย่างไรในพื้นที่ ที่นี่มีจุดดูทะเลหมอกอันลือชื่อคือบนพะเนินทุ่งแคมป์ ซึ่งปี 2564 นี้น่าจะเปิดในช่วงปลายปีค่อนข้างแน่ และที่นี่เป็นที่ที่นักดูนกทั้งไทยและเทศ ต่างแวะเวียนกันมาดูนกทั้งปี ทั้งยังเป็นแหล่งดูผีเสื้อที่สำคัญอีกด้วย เรื่องราวของช้างป่าที่อยู่ร่วมกับคนที่บ้านห้วยสัตว์ใหญ่ นั่นก็เป็นความสมบูรณ์ของสัตว์ป่าใน “แก่งกระจาน” ไม่นับภาพข่าวที่เจอเสือดำ เสือดาว ในป่าแก่งกระจานหลายครั้งที่ผ่านมา และในบรรดาคนที่ชอบตั้งแคมป์พักแรม ดูเหมือนว่า “แก่งกระจาน” ได้รับความนิยมอย่างมากไม่เคยสร่างซา


น้ำพุร้อนโป่งกระทิง

ด้านเหนือของ “อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน” จะต่อเชื่อมกับอุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน ซึ่งมีบ่อน้ำพุร้อนโป่งกระทิงเป็นที่รู้จักกัน ส่วนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าลุ่มน้ำภาชีนั้น ด้วยความที่เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ไม่ได้เน้นกิจกรรมท่องเที่ยวแต่เป็นที่อบรม เรียนรู้ของนักเรียน นักศึกษามานาน แต่กระนั้นก็ยังมีคนที่ชอบความเงียบสงบไปตั้งแคมป์พักแรมอยู่บ้าง และพื้นที่ต่อเนื่องกันสองพื้นที่นี้ มีการพบสมเสร็จ ซึ่งเป็นสัตว์หายากในบ้านเรา ดำรงชีพอยู่ด้วยความสำราญใจ


ทะเลหมอกบนพะเนินทุ่งแคมป์ อช.แก่งกระจาน

อีกหน้าที่หนึ่งของป่าคือการเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร ที่มาหล่อเลี้ยงทั้งผู้คนและสรรพสิ่ง ทุกผืนป่าทำหน้าที่เป็นป่าต้นน้ำได้เป็นอย่างดี เพียงแต่แม่น้ำที่เกิดจากป่าตะวันตกในย่านนี้ จะเป็นแม่น้ำสายสั้นๆ ที่เกิดจากป่าแล้วไหลลงทางตะวันออกสู่ทะเลอ่าวไทย แต่กระนั้นก็ทำหน้าที่สายชีวิตไม่บกพร่อง

กลุ่มป่า ‘แก่งกระจาน’ มรดกโลกแห่งใหม่ของไทย
เอกชนชงรัฐเร่งสกัดโควิด บูรณะแหล่งท่องเที่ยว“อีอีซี”
'ดูดวง' สิงหาคม 2564 ตามหลักโหราศาสตร์จีน กับซินแสนัตโตะ
อุทยานแห่งชาติกุยบุรี มีน้ำตกหลายแห่งมาก เพียงแต่ต้องเดินเท้าเข้าไปในป่าเป็นระยะทางค่อนข้างไกล อย่างน้ำตกผาหมาหอน น้ำตกห้วยดงมะไฟ น้ำตกด่านมะค่า น้ำตกผาสวรรค์ น้ำตกผาไทร น้ำตกแพรกตะคร้อ เป็นต้น


มาดูที่อุทยานฯ “แก่งกระจาน” ป่าที่นี่ให้กำเนิดแม่น้ำเพชรบุรี ที่ไหลลงเขื่อนแก่งกระจาน เป็นเส้นเลือดใหญ่ของเพชรบุรี ป่าผืนนี้จึงเป็นดั่งสายเลือดของคนเพชรบุรีเลยเทียว ในขณะที่น้ำตกคลองปราณ และน้ำตกป่าละอู ก็ไปหล่อเลี้ยงคนในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ส่วนทางตอนเหนือ น้ำตกแม่กระดังลา ก็ไหลลงเขื่อนลิ้นช้าง ลงมาเป็นแม่น้ำเพชรบุรีเช่นกัน


น้ำตกป่าละอู อช.แก่งกระจาน

ขึ้นไปที่อุทยานฯเฉลิมพระเกียรติไทยประจันอุทยานฯนี้ แม้จะไม่ขึ้นชื่อเรื่องน้ำตก แต่ขึ้นชื่อว่าเป็นป่า ย่อมเป็นต้นน้ำอยู่ดี จึงมีลำห้วยไทยประจัน ไหลล่องลงมาเป็นลำห้วย เป็นแก่งน้ำต่างๆ ก่อนจะไหลลงปลายทางที่อ่างเก็บน้ำไทยประจัน ออกไปหล่อเลี้ยงคนในที่ราบลุ่มเขตจอมบึง หรือเขตฯลุ่มแม่น้ำภาชี ก็เป็นการรักษาป่าต้นน้ำของลุ่มแม่น้ำภาชี แม่น้ำสาขาของแควน้อยที่กำเนิดจากป่า แล้วไหลผ่านพื้นที่ของสวนผึ้ง จอมบึง แล้วลงแควน้อยที่ อ.เมือง กาญจนบุรีนั่นเอง


จุดชมวิวบางกะม่า อช.เฉลิมพระเกียรติไทยประจัน


แม่น้ำเพชรบุรีก่อนลงสู่เขื่อนแก่งกระจาน

จะเห็นว่าทุกผืนป่าที่ดำรงคงอยู่ ล้วนแล้วเป็นต้นน้ำลำธาร เป็นหลักประกันในเรื่องน้ำ ว่าตราบใดที่เรามีป่า เราจะมีน้ำไว้ใช้ในชีวิต สัตว์ป่าพลอยจะได้ที่อยู่อาศัยอันมั่นคง

การได้ “มรดกโลก” จึงเป็นหลักประกันในสิ่งเหล่านี้ ขอแสดงความยินดีกับมรดกโลกทางธรรมชาติใหม่ของไทยอีกครั้ง แล้วเราคนไทยมาช่วยกันรักษาป่า “แก่งกระจาน” ผืนนี้ให้ยืนยาวต่อไป...