หวั่นคลัสเตอร์โรงงานยืดเยื้อ หยุดผลิตนานเสียหาย1.9 แสนล้าน

หวั่นคลัสเตอร์โรงงานยืดเยื้อ หยุดผลิตนานเสียหาย1.9 แสนล้าน

  • 0 ตอบ
  • 84 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Jenny937

  • *****
  • 2838
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 





รายงานข่าวจากศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี ธนาคารทหารไทยธนชาต เปิดเผยว่า ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในไทยยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งมาจากคลัสเตอร์โรงงานและไม่ได้พบในจังหวัดสีแดงเข้มเท่านั้น แต่ยังมีจังหวัดอื่น ๆ ด้วย ทำให้คาดว่าหากไม่สามารถควบคุมคลัสเตอร์โรงงานได้ จะทำให้การผลิตหยุดมากกว่า 2 สัปดาห์จะเกิดความเสียหาย 1.9 แสนล้านบาท และกระทบต่อการส่งออกไทยปี 64 อาจทำได้เพียง 6.8% แต่ถ้าควบคุมการระบาดได้เร็วจะทำให้ส่งออกไปขยายตัวที่ 9.4%

ทั้งนี้จากข้อมูลกรมอนามัย ตั้งแต่เดือนเม.ย.-ก.ค. 64 มีโรงงานติดเชื้อสะสมมากถึง 1,607 โรงงาน เป็นโรงงานขนาดใหญ่ 67% ซึ่งมีแรงงานจำนวนมาก โดยเป็นทั้งโรงงานผลิตเพื่อใช้ภายในประเทศและป้อนตลาดต่างประเทศ คลัสเตอร์โรงงานจึงเป็นคลัสเตอร์ใหญ่นอกเหนือไปจากแคมป์ก่อสร้าง และส่วนใหญ่เป็นโรงงานใน 5 กลุ่มอุตสาหกรรมสำคัญ ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหาร อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์และชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์ยางพารา และผลิตภัณฑ์สิ่งทอ

ขณะที่ในไทยมีโรงงานใน 5 กลุ่มอุตสาหกรรมนี้มากถึง 11,637 แห่ง มีแรงงาน 1.96 ล้านคน และมูลค่าตลาดต่อปีเท่ากับ  8.87  ล้านล้านบาท มีสัดส่วนส่งออกกว่า 57%  และจากการที่เป็นอุตสาหกรรมที่มีการใช้แรงงานค่อนข้างมาก เมื่อมีผู้ติดเชื้อจึงมีโอกาสที่จะเกิดการแพร่กระจายสูง นำมาซึ่งการใช้มาตรการปิดโรงงานหยุดกระบวนการผลิตชั่วคราว


รายงานข่าว ระบุ การปิดคลัสเตอร์โรงงาน 5 กลุ่มอุตสาหกรรมเป็นเวลา 2 สัปดาห์เพื่อควบคุมการระบาดจะก่อให้เกิดการสูญเสียมูลค่า 3.5 แสนล้านบาทหรือคิดเป็น 4% ของมูลค่าตลาด โดยอุปทานสินค้าป้อนตลาดจากโรงงานในอุตสาหกรรมอาหาร ยานยนต์ ยางพาราและพลาสติก จะได้รับผลกระทบจากการปิดโรงงานเร็วที่สุด เพราะมีสินค้าคงคลังน้อยกว่าช่วงปกติ ดังนั้น หากไม่สามารถควบคุมการระบาดคลัสเตอร์โรงงานได้ ภาครัฐต้องมีการล็อกดาวน์โรงงานเพิ่มขึ้น หรือขยายระยะเวลาปิดโรงงานออกไป จะส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกที่เป็นเครื่องยนต์หลักในการฟื้นเศรษฐกิจครั้งนี้ 

นอกจากนี้ สินค้าส่งออกทั้ง 5 กลุ่มอุตสาหกรรม ยังมีปัจจัยเสี่ยงจากเศรษฐกิจอาเซียนได้รับผลกระทบจากที่ต้องเจอยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ใหม่เพิ่มสูงขึ้นมาก โดยเฉพาะอินโดนีเซีย มาเลเซีย และเวียดนาม ทำให้กลับมาใช้มาตรการล็อกดาวน์ทั้งประเทศ ซึ่งส่งผลต่อความต้องการสินค้าส่งออกจากไทยในช่วงครึ่งปีหลัง โดยการส่งออกใน 5 กลุ่มอุตสาหกรรม  คิดเป็น 2 ใน 3 ของมูลค่าการส่งออกไปตลาดอาเซียนซึ่งในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้มีมูลค่ากว่า 1 ล้านล้านบาท