‘กอบศักดิ์’ ชงปฏิรูป กม.ลดต้นทุนธุรกิจ 3 หมื่นล้าน ปลดล็อกอสังหาฯ - Long stay Visa

‘กอบศักดิ์’ ชงปฏิรูป กม.ลดต้นทุนธุรกิจ 3 หมื่นล้าน ปลดล็อกอสังหาฯ - Long stay Visa

  • 0 ตอบ
  • 81 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Jenny937

  • *****
  • 2838
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 





นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รองผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในฐานะกรรมการในคณะกรรมการที่ปรึกษาเพื่อกำกับการปฏิรูปกฎหมายของรัฐบาล เปิดเผยว่า คณะกรรมการได้จัดทำข้อเสนอในการปฏิรูปกฎหมายในระยะเร่งด่วนของประเทศไทยเพื่อใช้เป็นแรงจูงใจที่สำคัญในการชักจูงให้เกิดการลงทุนจากต่างประเทศ รวมทั้งดึงดูดให้คนที่มีความสามารถสูงเข้ามาทำงานและใช้ชีวิตในประเทศไทยซึ่งถือว่าเป็นการเตรียมความพร้อมและฟื้นฟูประเทศไทยหลังสถานการณ์โควิดคลี่คลายลง

โดยในส่วนนี้ต้อมีการปรับปรุงกฎหมายหลายส่วนโดยเฉพาะเกกณฑ์การซื้อที่อยู่อาศัยและวีซ่าสำหรับผู้พำนักระยะยาว ในส่วนของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับที่อยู่อาศัยและอสังหาริมทรัพย์ได้เสนอผ่านคณะกรรมการฯไปยังนายกรัฐมนตรีว่าให้มีการปรับปรุงในส่วนของข้อกำหนดเดิมที่ให้ชาวต่างชาติที่ทำงานในประเทศไทยซึ่งต้อการจะซื้อที่อยู่อาศัยประเภทคอนโดมิเนียมในประเทศสามารถกู้เงินจากสถาบันการเงินในประเทศไทยได้ จากเดิมกำหนดว่าจะต้องใช้แหล่งเงินจากภายนอกประเทศเข้ามาซื้อ ซึ่งในส่วนนี้จะช่วยจูงใจให้ต่างชาติเข้ามาทำงานและอาศัยในไทยในระยะยาวมากขึ้น 

และช่วยเพิ่มกำลังซื้อให้กับภาคอสัหาริมทรัพย์ในปัจจุบันซึ่งในสต็อกของคอนโดเหลืออยู่จำนวนมาก ซึ่งในส่วนนี้ได้มีการหารือกับธนาคารพาณิชย์ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และกรมที่ดินแล้ว โดยขั้นตอนต่อไปจะต้องเสนอให้มีการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น พ.ร.บ.คอนโดฯ คาดว่าจะสามารถดำเนินการได้ภายใน 1 เดือน ซึ่งในส่วนนี้จะปลดล็อกเฉพาะคอนโคฯก่อนไม่เกี่ยวกับการซื้อบ้านซึ่งในส่วนนั้นมีประเด็นของกรรมสิทธิ์ที่ดินซึ่งยังไม่ได้ข้อสรุปในขณะนี้ 

“นักธุรกิจ และชาวต่างชาติที่ทำงานในเมืองไทยจำนวนหนึ่ง ต้องการที่จะซื้อคอนโดมิเนียมที่มีราคาแพงมากเป็นพรีเมี่ยมแต่กฎหมายกำหนดว่าไม่ให้คนกลุ่มนี้กู้เงินจากสถาบันการเงินในประเทศมาซื้อคอนโดฯ หากสามารถปลดล็อกในส่วนนี้ได้ก็จะช่วยให้สามารถระบายสต็อกคอนโดที่มีอยู่จำนวนมากได้ส่วนหนึ่ง”

สำหรับการต่ออายุคอนโดมิเนียมประเภทการซื้อที่ให้สิทธิการเช่าที่ถือครองกรรมสิทธิ์ตามช่วงระยะเวลาที่กำหนดหรือ "ลีสโฮลด์" (Leasehold) คณะกรรมการฯก็ได้เสนอให้ขยายสิทธิ์จากเดิม 30 ปี เป็น 50 ปีเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันและการขยายระยะเวลาเช่ากรรมสิทธิ์ให้ยาวขึ้นก็จูงใจให้มีการทำธุรกรรมในรูปแบบนี้มากขึ้น

สำหรับการแก้ไขเรื่องการให้วีซ่าของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ต้องการมาอาศัยระยะยาวในประเทศไทย (long stay Visa) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่เกษียณอายุหรือเป็นกลุ่มที่มีอายุมากไม่ได้ทำงานแล้วเข้ามาพักผ่อนในประเทศไทยแบบระยะยาว ได้เสนอให้มีการพิจารณาปรับปรุงจากการให้วีซ่าในระยะเวลา 1 ปีต่อครั้ง เป็น 5 ปีต่อครั้งซึ่งจะจูงใจกลุ่มผู้สูงอายุในกลุ่มประเทศแสกนดิเนีวยร์ ญี่ปุ่น และออสเตรเลียให้มาอยู่ในประเทศไทยได้มากขึ้น ซึ่งเมื่อกลุ่มนี้มาอยู่ในระยะยาว 5 ปีก็จะคิดเรื่องการซื้อที่อยู่อาศัยซึ่งกฎเกณฑ์เรื่องการกู้เงินเพื่อซื้อคอนโดในประเทศไทยได้ก็จะเอื้อให้ตัดสินใจได้ง่ายขึ้น

นายกอบศักดิ์กล่าวต่อว่าในส่วนของการผลักดันเรื่องการปฏิรูปกฎหมายในระยะเร่งด่วน และการตัดลดกฎหมายที่ไม่จำเป็น (regulatory guillotine) ได้ทำงานร่วมกับสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ซึ่งจากการศึกษาพบว่าข้อกฎหมายที่ไม่มีความจำเป็น ไม่ทันสมัยหรือเข้ากับสถานการณ์ซึ่งพบว่ามีอยู่ประมาณ 1,000 กระบวนงานข้อกฎหมาย คำสั่ง หรือกฎกระทรวงต่างๆ ที่เป็นปัญหา

ซึ่งได้ส่งแบบสอบถามไปยังหน่วยงานต่างๆที่เป็นเจ้าของกฎหมายแล้วซึ่งมีการสอบถามว่าจะปรับเปลี่ยน แก้ไขได้อย่างไรซึ่งมีการตอบกลับมาแล้ว 50% 30% มีความเห็นด้วยว่าจะต้องแก้ไขปัญหาและจำนวนไม่น้อยขั้นตอนจำนวนมากสามารถแก้ไขได้ที่หน่วยงานราชการนั้นเองให้มีความรวดเร็วขึ้น คล่องตัวขึ้น เหมือนกับการทำ 5 ส. ส่วนที่ไม่สามารถแก้ไขได้ต้องแก้กฎหมายก็จะมีการเสนอให้รัฐบาลดำเนินการต่อไป

อย่างไรก็ตามในส่วนที่สามารถแก้ไขได้จากการปรับลด แก้ไขกระบวนงานซึ่งลดลงได้ 20 - 30% จะได้เกือบ 200 - 300 ข้อ ซึ่งหากคิดเป็นการลดต้นทุนของประชาชนและภาคธุรกิจลงได้กว่า 3 หมื่นล้านบาท โดยในการปรับลดกฎหมายและตัดลดกฎหมายที่ไม่จำเป็นหรือแนวทาง “5 ส.กฎหมาย” ในส่วนของราชการ ได้วางแนวทางในการพิจารณาของหน่วยงานราชการไว้ 3 ข้อได้แก่

1.เป็นระเบียบ ข้อกำหนดที่ไม่มีกฎหมายรองรับ

2.เป็นกฎหมายที่ไม่เอื้อต่อการพัฒนาธุรกิจ

และ 3.เป็นกฎหมายไม่เหมาะสมกับยุคสมัย 

“หลายประเทศในอาเซียนกำลังให้ความสำคัญและจริงจังกับการปฎิรูปและสะสางกฎหมายที่ไม่มีความจำเป็น เป็นภาระให้ประชาชน ภาคธุรกิจ หรือเป็นกฎหมายที่ล้าสมัย เนื่องจากทุกประเทศรับทราบข้อมูลที่ตรงกันว่าการดำเนินการปฏิรูปกฎหมายจะมีผลต่อการดึงดูดการลงทุน และขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและมีผลต่อการจัดอันดับความยากง่ายในการดำเนินธุรกิจ (Ease of doing business) ซึ่งหากประเทศไทยไม่ดำเนินการในเรื่องนี้ก็จะเสียเปรียบและตกขบวนการพัฒนาและการลงทุนจากต่างประเทศที่จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน”นายกอบศักดิ์กล่าว