ถอดบทเรียน ส.ขอนแก่น ฝ่าวิกฤติโควิด เรียกศรัทธาพนักงาน 

ถอดบทเรียน ส.ขอนแก่น ฝ่าวิกฤติโควิด เรียกศรัทธาพนักงาน 

  • 0 ตอบ
  • 81 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

fairya

  • *****
  • 2954
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




หลักสูตรออนไลน์ Quick MBA For SMEs โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชวนหาทางแก้วิกฤติพิชิต COVID-19 ถอดบทเรียนการฝ่าความยากลำบากของผู้ประกอบการ โดย จรัญพจน์ รุจิราโสภณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ส.ขอนแก่นฟู้ดส์ จำกัด(มหาชน) ที่เข้ามารับตำแหน่งแม่ทัพองค์กรเพียง 1 เดือน ต้องเจอกับการรับน้องเผชิญโรคระบาดรุนแรงรอบร้อยปีทันที การแพร่กระจายของเชื้อโรคเป็นวงกว้าง ทำให้รัฐต้อง “ล็อกดาวน์” ระยะหนึ่ง กระทบการขายสินค้าของบริษัทอย่างมาก เพราะธุรกิจหลักทั้งอาหาร ร้านอาหาร 10 สาขา ล้วนพึ่งพาหน้าร้านผ่านห้างค้าปลีก

บททดสอบผู้นำ ยังถาโถมเข้ามา เมื่อเกิดโรครบาดในหมู 2 โรคเข้ามาพร้อมกันทำให้บริษัทต้องงัดมาตการดูแลพนักงานอย่างเข้มข้น ให้กินอยู่ที่โรงงาน ฟาร์มทันที เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดการติดเชื้อโรค

 นอกจากนี้ มาตรการรัฐทั้งโครงการคนละครึ่ง เราชนะ ที่ผันเงินเข้าระบบเศรษฐกิจผ่านร้านธงฟ้า ร้านค้าทั่วไป แม้ภาพรวมเห็นด้วยและเป็นกลไกกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่กระทบยอดขายร้านอาหาร และยอดขายในห้าง ทำให้ธุรกิจหลักของบริษัทต้องประสบปัญหา “ขาดทุน” เป็นบางเดือน กระเทือน “วิกฤติศรัทธา” ของคนในองค์กรต่อตนเอง

ล่าสุด โรงงานสารเคมีระเบิด ที่ห่างโรงงานของบริษัทเพียง 1.8 กิโลเมตร(กม.) ล้วนส่งผลกระทบต่อการทำงานทั้งสิ้น กลายเป็นสิ่งที่จะพิสูจน์การนำทัพองค์กร จะฝ่าภารกิจสุดหินให้ผ่านไปได้โดยเร็ว

“นอกจากโรคระบาดที่เกิดรุนแรงสุดรอบร้อยปี ซึ่งไม่เคยเจอมาก่อน โรงงานสารเคมีระเบิด เป็นสิ่งที่กดดันมาก รวมถึงสิ่งที่คนของ ส.ขอนแก่นไม่คุ้นหูคือคำว่า ขาดทุน เพราะเราอยู่ในธุรกิจที่ทำกำไรมาตลอด ธุรกิจหลักๆไม่เคยขาดทุน แต่พอเจอวิกฤติเราประสบปัญหาขาดทุน 1-2 เดือน จึงไม่ใช่แค่เจอวิกฤติธุรกิจแต่ส่วนตัวเจอวิกฤติศรัทธา ทุกคนห่วงจะรอดไหม เพราะสถานการณ์หนักมาก”

ทั้งนี้ ส.ขอนแก่น มีฟาร์ม 1 แห่ง โรงงาน 4 แห่ง ร้านอาหาร 10 สาขา และอสังหาริมทรัพย์ รวมมีพนักงานร่วม 2,000 ชีวิต ในการฝ่าวิกฤติ “ทีมงาน” เป็นหัวใจสำคัญมาก โดยทุกฝ่ายทำแผนการดำเนินงานต่อเนื่อง (BCP) 6 แผน รองรับการทำงานภายใต้สถานการณ์ต่างๆ ทีมการตลาดระดมสมองจัดแคมเปญที่จะพลิกกำไรให้บริษัท ฝ่ายผลิตหากไม่สามารถบรรจุสินค้าได้ ทีมงานต่างๆพร้อมไปเป็นกำลังเสริมช่วยเต็มที่ ทีมงานร้านอาหารหาซัพพลายเออร์จากทั่วโลก รองรับความเสี่ยงกรณีซัพพลายเออร์ในประเทศส่งวัตถุดิบให้ไม่ได้ เป็นต้น

การมีทีมงานแกร่ง พร้อมร่วมหัวจมท้าย และลุยแก้ไขปัญหา ทำให้สถานการณ์ยอดขายฟื้นตัวกลับมาในทิศทางที่ดีในระยะสั้น ส่วนระยะยาว จรัญพจน์ ตีโจทย์ธุรกิจอาหารกำลังอยู่ในสถานการณ์โกลาหล เพราะคู่แข่งทางตรงมีมาก ส่วนคู่แข่งหน้าใหม่ตบเท้าเข้ามาแบ่งเค้กมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เดาทางอนาคตลำยาก แต่ธุรกิจต้องอยู่รอด การปรับตัวเพื่อให้ยืนหยัดในวงการได้ บริษัทให้ความสำคัญกับการเป็นเจ้าของสินทรัพย์น้อยลง(Asset Light)มุ่งจับมือพันธมิตรเพื่อให้เกิดซีนเนอร์ยี โมเดลธุรกิจใหม่ เพื่อบุกตลาด และตัดตัวกลางในธุรกิจมากขึ้น

“อนาคตธุรกิจอาหารเดาทางยากจะแข่งกับใคร เพราะมีสตาร์ทอัพหน้าใหม่ พร้อมตัดตัวกลาง มีแอ๊พพลิเคชั่นต่างๆ คลาวด์คิทเช่น เกิดขึ้น สถานีบริการน้ำมันอยากทำอาหาร กลายเป็นสมรภูมิที่ผู้ประกอบการทุกคนมาบรรจบกันทำตลาดจริง”

อีกตัวแปรที่กระทบผู้ประกอบการ คือ “กำลังซื้อผู้บริโภคลดลง” แต่ความต้องการสินค้าดีมีคุณภาพมาเป็นอันดับแรก ทำให้บริษัทต้องหันกลับมามองสมรรถนะของตัวเอง ปรับกระบวนการภายใน หาทางผลิตสินค้าที่มีคุณภาพดี ที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นแต่ “ราคาต่ำลง” ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายให้ได้

นอกจากนี้ เพื่อลดความเสี่ยง เพิ่มโอกาสขาย บริษัทจะบุกช่องทางจำหน่ายร้านธงฟ้า ที่มีราว 1-4 แสนราย เพื่อกระจายสินค้าถึงกลุ่มเป้าหมาย การจับมือพันธมิตรปั๊มน้ำมัน เพื่อขายสินค้า ส่วนการช่องทางออนไลน์จะเน้นขยายพาร์ทเนอร์ ด้านร้านอาหารจะทำคลาวด์คิทเช่น ลดต้นทุน

 “เป็นความท้าทายของผู้ประกอบการ ทุกคนกำลังหนีตาย ยอมลดกำไรตัวเอง เพื่อให้แข่งขันได้ แต่หากต้องการอยู่รอด ต้องกลับมาดูสมรรถนะตัวเอง ทำของดีราคาถูกลง หาจุดแข็งสร้างความโดดเด่น ทำสินค้าให้ผู้บริโภคว้าว!ให้ได้”