'หุ้นชิ้นส่วนรถยนต์' ยังแกร่ง! ยอดส่งออกโตกระฉูด

'หุ้นชิ้นส่วนรถยนต์' ยังแกร่ง! ยอดส่งออกโตกระฉูด

  • 0 ตอบ
  • 88 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Ailie662

  • *****
  • 2858
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 





ขณะที่การระบาดส่อเค้าลากยาว แถมยังยากที่จะควบคุม จนต้องยกระดับมาตรการที่คุมเข้มขึ้น ด้วยการประกาศล็อกดาวน์ในพื้นที่ 13 จังหวัด รวม กทม.และปริมณฑล หลายกิจการต้องปิดชั่วคราว มีการประกาศเคอร์ฟิวห้ามออกจากบ้านตั้งแต่ 21.00-04.00 น.

ถือเป็นยาแรงชุดใหญ่ที่หวังจะช่วยยับยั้งโรคระบาด แต่ในทางกลับกันหากยังไม่ได้ผล ตัวเลขผู้ติดเชื้อไม่ลดลงอย่างที่หวัง คงได้เห็นมาตรการที่คุมเข้มมากกว่านี้ ซึ่งแน่นอนว่ายิ่งมาตรการเข้มเท่าไหร่ ผลกระทบต่อเศรษฐกิจจะยิ่งมากขึ้นไปด้วยอย่างเลี่ยงไม่ได้

จะเห็นว่าตั้งแต่เกิดการระบาดของโควิด เครื่องยนต์หลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย แทบหยุดชะงักลงทันที ทั้งการบริโภคภาคเอกชน การลงทุนภาคเอกชน การลงทุนภาครัฐ มีเพียงแค่ “การส่งออก” เท่านั้นที่โตสวนวิกฤต ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและจากฐานที่ต่ำในปีก่อน

โดยล่าสุดกระทรวงพาณิชย์เปิดเผยตัวเลขการส่งออกเดือนมิ.ย. ยังคงร้อนแรง ขยายตัว 43.82% สูงสุดในรอบ 11 ปี คิดเป็นมูลค่ารวม 23,699.43 ล้านดอลลาร์ ขณะที่ภาพรวม 6 เดือนแรก ปี 2564 การส่งออกไทยขยายตัว 15.53% คิดเป็นมูลค่า 132,334.65 ล้านดอลลาร์

“รถยนต์” เป็นหนึ่งในสินค้าหลักที่เติบโตร้อนแรง โดยยอดการส่งออกรถยนต์ในเดือนมิ.ย. อยู่ที่ 83,022 คัน เพิ่มขึ้น 65.88% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หลังยอดขายรถยนต์ในประเทศคู่ค้าหลายประเทศเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทั้งออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น เวียดนาม มาเลเซีย และในทวีปยุโรป


ขณะที่ครึ่งปีแรกไทยส่งออกรถยนต์ไปแล้วทั้งหมด 473,489 คัน เพิ่มขึ้น 35.07% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนยอดการผลิตและยอดขายรถยนต์ในประเทศยังขยายตัวแกร่งเช่นกัน โดยมียอดการผลิตรวม 844,601 คัน เพิ่มขึ้น 39.34% และยอดขายรวม 373,193 คัน เพิ่มขึ้น 13.57%

ทั้งนี้ แม้ว่ายอดการผลิตในเดือนมิ.ย. จะชะลอตัวลงเล็กน้อย 4% จากเดือนก่อน มาอยู่ที่ 134,245 คัน จากผลกระทบของการระบาดระลอกใหม่ และปัญหาขาดแคลนชิพ จนหลายค่ายต้องปรับลดกำลังการผลิตลง แต่ในภาพรวมถือว่าผลกระทบยังจำกัด โดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ได้ปรับเพิ่มเป้าการผลิตรถยนต์ปีนี้เป็น 1.55-1.6 ล้านคัน จากเดิมที่ 1.5 ล้านคัน

การฟื้นตัวของตลาดรถยนต์กลายเป็นปัจจัยบวกต่อหุ้นกลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนที่จะได้รับอานิสงส์ไปด้วย สอดรับกับราคาหุ้นที่ปรับตัวขึ้นอย่างร้องแรง อย่างบริษัท สมบูรณ์ แอ๊ดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) หรือ SAT ราคาหุ้นปีนี้เพิ่มขึ้นกว่า 30% จากราคาปิดปีก่อนที่ 16.40 บาท

ส่วนบริษัท อาปิโก ไฮเทค จำกัด (มหาชน) หรือ AH ขึ้นมาราวๆ 40% ขณะที่บริษัท ไทยสแตนเลย์การไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ STANLY ที่ทำหลอดไฟรถยนต์ อาจจะสวนทางเพื่อนๆ เพราะราคาหุ้นยังไม่ค่อยขยับ

อีกหนึ่งบริษัทที่มองข้ามไม่ได้ บริษัท เคซีอี อีเลคโทรนิคส์ จำกัด (มหาชน) หรือ KCE แม้ไม่ได้อยู่ในกลุ่มยานยนต์โดยตรง แต่ก็ขายชิ้นส่วนให้ลูกค้าในกลุ่มนี้เยอะโดยเฉพาะในยุโรป แถมยังได้อานิสงส์จากเงินบาทอ่อนต่าหนุนอีกแรง จนดันราคาหุ้นพุ่งทำออลไทม์ไฮ พุ่งขึ้นเกือบ 100%

โดยบล.หยวนต้า (ประเทศไทย) ระบุว่า ยังคงน้ำหนักการลงทุน “มากกว่าตลาด” โดยมองว่าผลประกอบการของหุ้นกลุ่มชิ้นส่วนรถยนต์ในปี 2564-2565 จะฟื้นตัวโดดเด่นจากฐานที่ต่ำในปีก่อน และตลาดส่งออกที่ฟื้นตัว สวนกระแสการแพร่ระบาดของโควิด-19

เลือก AH เป็นหุ้น Top pick ในกลุ่มเนื่องจากคาดกำไรจะฟื้นตัวโดดเด่นสุดในปี 2564 ขณะที่ Valuation ถูกสุดในกลุ่ม โดยซื้อขายที่ PER เพียง 7.3 เท่า เทียบกับค่าเฉลี่ยของกลุ่มที่ 10 เท่า และต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ย้อนหลัง 5 ปี ของบริษัทที่ 10.7 เท่า

ส่วนบล.เมบ์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) ระบุว่า แม้ผลประกอบการไตรมาส 2 ปี 2564 ของกลุ่มชิ้นส่วนรถยนต์จะชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อน เนื่องจากเป็นช่วงโลว์ซีซั่นและผลกระทบจากการขาดแคลนชิพชิพ แต่จะโตเด่นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ประสบปัญหาขาดทุน แต่แนะนำให้รอจังหวะเข้าซื้อช่วงราคาอ่อนตัว