อัญมณีและเครื่องประดับไทยในวิกฤติโควิด 19 เราอยู่ที่ไหน แล้วเราจะไปทางไหน

อัญมณีและเครื่องประดับไทยในวิกฤติโควิด 19 เราอยู่ที่ไหน แล้วเราจะไปทางไหน

  • 0 ตอบ
  • 77 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

hs8jai

  • *****
  • 2219
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




แม้ในห้วงวิกฤติเศรษฐกิจที่มีผลจากการหดตัวลงของการค้าทั่วโลก เนื่องจากการแพร่ระบาดของเจ้าไวรัสโควิด-19 ที่ทำเอาการค้าอัญมณีและเครื่องประดับหัวทิ่มหัวตำไปตามๆกัน ไม่จำเพาะแต่บ้านเราที่ถือเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ทั้งการขายอัญมณีพลอยก้อน พลอยร่วง (พลอยที่ยังไม่เข้าตัวเรือนเป็นเครื่องประดับ) และที่นำโด่งกว่าใครๆก็คือการเป็นผู้ผลิตและส่งออกเครื่องประดับเงิน ซึ่งถือเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ที่สุดของโลกอีกด้วย

นับตั้งแต่โควิด-19 ทำพิษมาตั้งแต่ต้นปี 2563 จนถึงสิ้นปี 2563 การค้าเครื่องประดับและอัญมณีดิ่งหัวลงสวนทางกับการแพร่กระจายของไวรัส เพราะในปีที่ผ่านมาทั้งโลกยังคงตระหนกกับการกลายพันธุ์ของไวรัส และจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้น

มาในปีนี้ หลายประเทศได้มีการฉีดวัคซีนกันไปแล้ว แม้จะไม่สามารถสร้างให้เกิด Herd Immunity หรือภูมิคุ้มกันหมู่ได้อย่างทฤษฎี แต่ประเทศในแถบยุโรป และหลายรัฐในอเมริกา ก็เริ่มปลดล็อคและหันมาทำการค้าการขายกันได้มากขึ้น แม้จะไม่มากเหมือนในช่วงเวลาก่อนการระบาดของโควิดก็ตาม อัญมณีและเครื่องประดับก็มีแนวโน้มจะกลับมาสร้างความสดใสให้กับผู้บริโภค หลังจากที่ต้องเก็บตัวอยู่กับบ้านมาเป็นเวลาแรมปี

บ้านเราซึ่งเป็นแหล่งค้าพลอยอันดับโลก พลอยได้รับอานิสงค์ของการเปิดให้ทำการค้าขายด้วย โดยพลอยร่วงของบ้านเราก็ทำการเจียระไน และส่งออกไปยังต่างประเทศโดยเฉพาะในทางยุโรปเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะส่งไปยังสหราชอาณาจักร สูงขึ้นถึงร้อยละ 53.71 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (มกราคม - พฤษภาคม 2563) ในทำนองเดียวกันตลาดอย่างประเทศออสเตรเลีย ไทยเราก็ขายไปให้เขาได้สูงขึ้นถึงร้อยละ 456.21 มากถึงสี่เท่าครึ่งทีเดียว ตลาดเก่าและตลาดใหม่ ที่เพิ่มสูงขึ้นนี้มีทั้งตลาดที่ยังคงมีอัตราการติดเชื้อสูง และมีทั้งประเทศที่มีอัตราการระบาดยังคงต่ำอยู่ ซึ่งทำให้ทิศทางของพลอยสีบ้านเรานั้นมีทางรอดจากทั้งสองตลาดนี้ได้

สุเมธ ประสงค์พงษ์ชัย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ
สุเมธ ประสงค์พงษ์ชัย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ


มาถึงพระเอกของตลาดเครื่องประดับกันบ้าง เรามีชื่อเสียงด้านการผลิตและส่งออกเครื่องประดับเงินมาอย่างยาวนาน การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศที่สามารถควบคุมโควิด หรือปรับเปลี่ยนการดำรงชีวิตให้อยู่กับไวรัสตัวนี้ได้ ทำให้ผู้คนเริ่มกลับมาใช้ชีวิตเกือบเป็นปกติ โดยมีการปรับพฤติกรรมแบบ New normal ส่งผลให้การส่งออกเครื่องประดับเงินของบ้านเรานั้น มีทิศทางสดใสขึ้นแบบอาทิตย์ขึ้นในยามเช้าทีเดียว โดยเฉพาะเครื่องประดับเงินที่ส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร และ ญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นโดยรวมถึงร้อยละ 20.26 นำเม็ดเงินมูลค่าถึง 620.91 ล้านเหรียญสหรัฐ เข้ามาในเมืองไทย พอให้ผู้ผลิตสินค้าเครื่องประดับเงินพอได้หายใจคล่องขึ้น

แต่จากการลองสำรวจ พบว่า แนวโน้มผู้บริโภคสินค้าเครื่องประดับเงิน จะซื้อสินค้าที่มีขนาดและราคาย่อมเยาลง ดังนั้นผู้ประกอบการเครื่องเงินจึงต้องประคับประคองตัวด้วยการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆให้ถูกใจตลาดมากแบบยิ่งขึ้น และเมื่อราคาต่อชิ้นถูกลง แน่นอนว่าระดับของอายุผู้ใช้เครื่องประดับเงินก็น่าจะขยายวงกว้างมากขึ้นอีกด้วย

หันมาดูการสนับสนุนจากภาครัฐ จะเห็นได้ว่าเราพยายามจะต่อรองกับนานาชาติในภาพรวม เป็นลักษณะข้อตกลงทางการค้าทวิภาคี หรือพหุภาคี หรือถ้าจะเรียกให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ รัฐบาลของเราไปตกลงกับรัฐบาลผู้นำเข้าสินค้าของเราให้ลดข้อจำกัดในการนำเข้าลง เช่น ลดภาษี หรือส่งเสริมให้มีการซื้อขายแบบจับคู่ เราซื้อเขา เขาซื้อเรา

แต่ทว่า การตกลงกันในระดับรัฐบาล ต่อ รัฐบาล ในวันนี้ก็อาจจะยังไม่พอ จึงได้มีความพยายามที่จะลงลึกและกว้างลงไปถึงการไปเจรจากับระดับเมืองกันเลยทีเดียว ล่าสุด เรารู้ว่าชาวโคฟุ เมืองยามานาชิ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งอยู่ในภูมิภาคชูบุ แหล่งปลูกองุ่นเคียวโฮ ที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก โดยเฉพาะสถานที่มีชื่อเสียงอย่างทะเลสาบคาวากุจิโกะ ที่มีจุดถ่ายรูปฟูจิซัง หรือภูเขาไฟฟูจิอันสวยงาม ดินแดนอันมีมนต์เสน่ห์แห่งนี้ยังมีความสามารถเรื่องการทำตัวเรือนเครื่องประดับ และเป็นแหล่งผลิตเครื่องประดับชั้นนำของญี่ปุ่น ที่มีช่างฝีมือมากมาย อีกทั้งเมืองแห่งนี้ยังมีชื่อเสียงด้านการทำคริสตัลที่อย่างยาวนาน



การมีข้อตกลงระหว่างรัฐบาลไทย และเมืองโคฟุ นั้นเท่ากับเป็นการเข้าไปล้วงถึงตับ ล้วงถึงแหล่ง ของคนที่ต้องนำเอาพลอยไปใช้จริง แนวโน้มเช่นนี้ จึงเป็นกลยุทธ์ที่เรียกกันว่า “เปิดโอกาสการค้า พัฒนาพันธมิตรเมืองรอง” อันจะทำให้เราสามารถเจรจาโดยตรงกับคนใช้งาน ไม่ต้องผ่านชั้นขั้นตอนต่างๆ ให้เสียเวลา เพราะการค้าต้องทำอย่างรวดเร็ว การยิงลูกตรงเพื่อไปตุงตาข่ายฝ่ายผู้ซื้อแบบนี้ช่วยให้เราสามารถสร้างยอดขายได้อย่างไม่ยากนัก

การลงนามความร่วมมือเชิงลึกในระดับเมืองของประเทศที่มี FTA กันแบบเดิม บวกกับนโยบายการรุกคืบแบบ พันธมิตรเมืองรอง ทำให้การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ การผลิต การถ่ายทอดเทคโนโลยีระหว่าง SME ทั้งสองประเทศเป็นไปอย่างรวดเร็ว ตรงเป้า และเชื่อได้ว่านี่ไม่ได้เป็นเพียงคู่เจรจาเดียวที่จะเกิดขึ้น แต่จะเกิดขึ้นกับเมืองรองอื่นๆ โดยตรงต่อไป

ไทยรวมพลังฝ่าฟันวิกฤติด้วยธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับ ที่ร่วมประสานการขับเคลื่อนโดย หน่วยงานภาครัฐ สมาคมการค้า สมาคมผู้ผลิต และประสานความร่วมมือจากสถาบันแห่งชาติด้านอัญมณี อย่างสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ GIT น่าจะทำให้อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของไทยฝ่าวิกฤตินี้ไปได้ อย่างไรก็ดีการโต้คลื่นเศรษฐกิจในปัจจุบัน เราจำเป็นต้องปรับตัวอย่างรวดเร็วในทุกด้าน การควบคุมค่าใช้จ่าย และพัฒนาด้านแรงงานให้มีประสิทธิภาพ จะเป็นทิศทางสู่การรอดจากวิกฤติครั้งนี้ได้อย่างแน่นอน