วช. หนุนนวัตกรรม 'พาราโบลาโดม' เพิ่มมูลค่าเมล็ดกาแฟอบแห้งเกษตรกรพื้นที่สูง

วช. หนุนนวัตกรรม 'พาราโบลาโดม' เพิ่มมูลค่าเมล็ดกาแฟอบแห้งเกษตรกรพื้นที่สูง

  • 0 ตอบ
  • 71 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

deam205

  • *****
  • 2773
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




นักวิจัย มหาวิทยาลัยศิลปากร นำนวัตกรรมระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ “พาราโบลาโดม” แก้ปัญหาและเพิ่มมูลค่าการผลิตเมล็ดกาแฟอบแห้ง วิสาหกิจชุมชน จ.แม่ฮ่องสอน โดยการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สามารถใช้งานบนพื้นที่สูงอย่างมีประสิทธิภาพ

การอบแห้งเมล็ดกาแฟของเกษตรกรบนพื้นที่สูงทางภาคเหนือ นิยมใช้วิธีการตากแห้งแบบดั้งเดิม จึงประสบปัญหาเรื่องฝนตก แมลงรบกวน ขนาดพื้นที่ที่จำกัดและระยะเวลาการตากแห้งหลายสิบวัน จนเกิดเชื้อรา ทำให้ผลผลิตมีคุณภาพต่ำ ขายได้ราคาถูก ซึ่งในแต่ละปีจะมีผลผลิตเมล็ดกาแฟเกิดขึ้นในพื้นที่จำนวนมาก


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุศรากรณ์ มหาโยธี ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัย จากมหาวิทยาลัยศิลปากร เล่าว่า พาราโบลาโดม ถูกใช้อย่างกว้างขวางกับผลิตภัณฑ์อบแห้งหลากหลายชนิด สำหรับการอบแห้งเมล็ดกาแฟ นักวิจัยได้ใช้พาราโบลาโดมมาตรฐานขนาดเล็ก ขนาดพื้นที่ฐาน 6.0 x 8.2 ตร.ม. และพาราโบลาโดมขนาดที่เหมาะสมกับพื้นที่จำกัดบนดอย คือ ขนาดพื้นที่ฐาน 3.0 x 6.2 ตร.ม. ติดตั้งใน 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านห้วยไม้ดำ กลุ่มเกษตรกรบ้านหนองขาวกลาง และวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรบ้านหนองขาวเหนือ ตำบลห้วยปูลิง อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน จึงสามารถช่วยแก้ไขปัญหาและต่อยอดผลิตภัณฑ์เมล็ดกาแฟได้ดี



“จุดเด่น คือ ได้ผลลัพธ์ของกาแฟอาราบิกาคุณภาพพิเศษ ที่เรียกว่า Honey Process และใช้เวลาอบแห้งเพียงแค่ 3 วัน ลดลงจากเดิมถึง 3 เท่า สามารถรักษารสชาติของกาแฟไว้ได้เป็นอย่างดี และขายได้ในราคาที่สูงกว่าเดิมหลายเท่า เป็นการส่งเสริมเกษตรกรที่ปลูกกาแฟแบบ Shade-Grown Coffee ซึ่งเป็นการทำเกษตรแบบอนุรักษ์ป่าอีกทางหนึ่ง นวัตกรรมมีกระบวนการไม่ซับซ้อน ตามแบบนวัตวิถี เหมาะต่อการใช้งานของเกษตรกร โดยวางเป้าหมายการขยายผล ด้านการเผยแพร่ความรู้ไปยังเกษตรกรบนพื้นที่สูงมากยิ่งขึ้น หากได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ ก็จะสามารถร่วมกันอบรมต่อยอดนวัตกรรมนี้ต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาทิ เกษตรกรเกิดการแปรรูปผลิตภัณฑ์อื่นตามมา เกิด Local Enterprise และการซื้อขายที่เป็นธรรมต่อเกษตรกร สร้างโมเดลภาคธุรกิจชุมชนที่มั่นคงต่อไป”ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุศรากรณ์ กล่าว

ระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ มีโครงสร้างแบบเรือนกระจก (Greenhouse) เป็นรูปพาราโบลา ปิดคลุมด้วยแผ่นโพลีคาร์บอเนต เพื่อให้เกิดหลักการเรือนกระจก คือ เมื่อรังสีดวงอาทิตย์ผ่านแผ่นโพลีคาร์บอเนต ไปยังผลิตภัณฑ์ในชั้นวาง บางส่วนจะตกกระทบพื้นของระบบอบแห้ง ทำให้ภายในระบบอบแห้ง มีอุณหภูมิสูงขึ้น รังสีอินฟราเรดในแสงแดดถูกเก็บกักไว้ภายในระบบอบแห้ง เนื่องจากไม่สามารถผ่านแผ่นโพลีคาร์บอเนตออกไปได้ อุณหภูมิภายในระบบจึงสูงขึ้น น้ำในผลิตภัณฑ์จะระเหยออกมา และถูกพัดลมดูดอากาศด้านหลังของระบบดูดออกไปภายนอก อากาศภายนอกจะไหลเข้ามาแทนที่ จึงทำให้ผลิตภัณฑ์แห้งเร็วกว่าการตากแดดตามธรรมชาติ ประหยัดเวลา ช่วยป้องกันฝนและแมลงรบกวน



ด้านดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เปิดเผยว่า วช. มีนโยบายสนับสนุนให้สถาบันการศึกษาของไทยพัฒนานวัตกรรมในด้านต่างๆ ปัจจุบันมหาวิทยาลัยหลายแห่งสามารถผลิตนวัตกรรมเพื่อตอบสนองการแก้ปัญหาด้านต่างๆ เช่น การแพทย์ การเกษตร สิ่งแวดล้อม และอื่นๆ ตามความเร่งด่วนของปัญหาที่เกิดขึ้น นวัตกรรมหลายประเภทสามารถผลิตออกมาจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ และอีกหลายโครงการเป็นการวางรากฐานงานวิจัยของไทยให้เกิดความเข้มแข็งในระยะยาวต่อไป เช่นเดียวกับ นวัตกรรมพาราโบลาโดมนี้ ที่ช่วยแก้ปัญหาเชิงพื้นที่ให้กับวิสาหกิจชุมชนด้านการทำการเกษตร ซึ่งเป็นฐานรากทางเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศอีกด้านหนึ่ง