จาก 'อีสเทิร์นซีบอร์ด' สู่ 'อีอีซี' สกพอ.ตั้งเป้าเขตเศรษฐกิจพิเศษระดับโลก

จาก 'อีสเทิร์นซีบอร์ด' สู่ 'อีอีซี' สกพอ.ตั้งเป้าเขตเศรษฐกิจพิเศษระดับโลก

  • 0 ตอบ
  • 72 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

PostDD

  • *****
  • 1581
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




"อีอีซี"เปิดเวทีเสวนาระดมความคิดจากกูรูด้านเศรษฐกิจระดับตำนานชั้นแนวหน้าไทย และบิ๊กเอกชน ร่วมถอดแนวคิด "อีสเทิร์นซีบอร์ด"ต่อยอดสู่ความสำเร็จ "อีอีซี"กับการเป็นเขตพัฒนาพิเศษระดับโลก หวังดันการลงทุนปีละ 6 แสนล้านบาท หนุนไทยเป็นประเทศพัฒนาแล้วในปี 2572

เมื่อเร็วๆนี้สำนักงำนคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) จัดเสวนาวิชาการหัวข้อ "จาก ESB สู่ EEC กับ การเป็นเขตพัฒนาพิเศษ ระดับโลก” ในรูปแบบออนไลน์ (VDO conference) นำโดย ดร.เสนาะ อูนากูล ประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ สกพอ. ดร.อาณัติ อาภาภิรม ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ สกพอ. ดร. ณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธามูลนิธิเสนาะอูนากูล และ ดร.คณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)

โดยมีกลุ่มผู้บริหารระดับสูง จากภาคเอกชน นักธุรกิจชั้นนำใน เมืองไทย เช่น นายกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการ บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการ บมจ. บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ นายแพทย์ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ ประธาน คณะผู้บริหารและกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ BDMS นายวิกรม กรมดิษฐ์ ประธานกรรมการบริหาร บมจ. อมตะ คอร์ปอเรชัน นางสาวจรีพร จารุกรสกุล ประธานคณะกรรมการ บมจ. ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น และผู้ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมรับฟังการเสวนามากกว่า 70 คน

การจัดเสวนา ฯ ครั้งนี้ ฉายภาพแนวคิดของการพัฒนาโครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออก หรือ “อีสเทิร์นซีบอร์ด” (ESB) และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ.2525 – 2529) ซึ่งเป็นช่วงการพัฒนาประเทศที่สำคัญของไทย โดยผ่านพ้นวิกฤตเศรษฐกิจอย่างรุนแรงในสมัยนั้น และได้ผลักดันให้เกิดการลงทุนครั้งใหญ่ ช่วยให้เศรษฐกิจไทยในช่วงกว่า 30 ปีก่อนเติบโตแบบก้าวกระโดด โดยมีความต่อเนื่องมายังแผนพัฒนาฯ
ฉบับที่ 6 และฉบับที่ 7 ที่ช่วยให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) เติบโตเฉลี่ยสูงถึง 9.3%

ซึ่งแนวคิดจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 5 ดังกล่าว จะเป็นต้นแบบสำคัญเพื่อเตรียมการจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ซึ่งพบผลกระทบจากสถานการณ์โควิดและเกิดวิกฤตเศรษฐกิจใกล้เคียงกับในอดีต

นอกจากนี้ การพัฒนาพื้นที่ อีอีซี ในปัจจุบัน ยังได้นำแนวคิด และต่อยอดเพิ่มสิ่งที่ได้รับจากอีสเทิร์นซีบอร์ด ที่สำคัญ ๆ เช่น แนวคิดให้เกิดการพัฒนาต่อเนื่อง ด้วยการมี พ.ร.บ. และสำนักงานอีอีซี การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ สนามบินอู่ตะเภา ขยายท่าเรือมาบตาพุด และแหลมฉบัง รถไฟความเร็วสูง ลดการพึ่งพางบประมาณรัฐและเงินกู้ ด้วยสัญญา PPP ที่โปร่งใส รัดกุม และรัฐได้ประโยชน์สูงสุด การส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงที่ไม่เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น 5G ระบบโซลาร์เซลล์ ยานยนต์ไฟฟ้า และการสร้างงานให้เยาวชนในพื้นที่
มีรายได้ดี รวมทั้ง ทำงานกับท้องถิ่น กลุ่มสตรี เยาวชน เพื่อให้โครงการอีอีซีอยู่คู่กับชุมชนได้อย่างยั่งยืน


พร้อมกันนี้ อีอีซีจะปรับแผนทำงานให้หนักเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว เพื่อชดเชยส่วนที่หายไปจากโควิด ทั้งนี้ จากการประมาณการ พบว่าประเทศไทยจำเป็นต้องเพิ่มการลงทุนอีกปีละ 6 แสนล้านบาท เพื่อดึงเศรษฐกิจให้ขยายตัว 4.5 – 5% ให้ไทยก้าวสู่ประเทศที่พัฒนาได้ในปี 2572

สำหรับการเสวนาดังกล่าว ภาคเอกชน และนักธุรกิจชั้นนำ ได้ร่วมแสดงความคิดเห็นตรงกันว่า มีความจำเป็นต้องร่วมขับเคลื่อนอีอีซี ให้เกิดการลงทุนต่อเนื่อง ทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ ๆ และการลงทุนในอุตสาหกรรมนวัตกรรมขั้นสูง ที่ อีอีซี พร้อมดึงดูดนักลงทุนทั่วโลกให้เข้ามาลงทุนในประเทศไทย เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ช่วยให้เศรษฐกิจไทยเติบโตในระยะยาว


ทั้งนี้การสรุปข้อมูล และการถอดบทเรียนที่ได้รับจากการเสวนาฯ ในครั้งนี้ สกพอ. จะได้นำข้อมูล ชุดความรู้ที่ได้รับประกอบการจัดตั้ง ศูนย์การเรียนรู้ พิพิธภัณฑ์เขตพัฒนาพิเศษชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกประเทศไทย (EEC Learning Center /EEC Museum) และมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

ซึ่งจะเป็นศูนย์การเรียนรู้สำคัญ ของการพัฒนาพื้นที่ภาคตะวันออก และพร้อมจะเป็นแหล่งเรียนรู้ของนักลงทุนรุ่นใหม่ และผู้ที่สนใจได้ศึกษาถึงความเป็นมาของ อีสเทิร์นซีบอร์ด และการพัฒนาอีอีซี ที่จะเป็นต้นแบบของการพัฒนาประเทศ ต่อไป