สุดทน?! 7 ซีอีโอสายการบินควงแขนทวง ‘ซอฟท์โลน’ จี้รัฐเร่งเยียวยาหลังแอร์ไลน์ถูกสั่งห้ามบิน

สุดทน?! 7 ซีอีโอสายการบินควงแขนทวง ‘ซอฟท์โลน’ จี้รัฐเร่งเยียวยาหลังแอร์ไลน์ถูกสั่งห้ามบิน

  • 0 ตอบ
  • 75 อ่าน

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Joe524

  • *****
  • 2320
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 





ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันพรุ่งนี้ (21 ก.ค.) เวลา 10.30 น. สมาคมสายการบินประเทศไทย ซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 7 สายการบินในไทย ได้แก่ บางกอกแอร์เวย์ส ไทยแอร์เอเชีย ไทยแอร์เอเชียเอ็กซ์ นกแอร์ ไทยสมายล์ ไทยไลอ้อนแอร์ และไทยเวียตเจ็ท เตรียมจัดแถลงข่าวออนไลน์ โดยมีประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) ของทั้ง 7 สายการบินเข้าร่วมเพื่อเรียกร้องขอให้รัฐบาลเร่งเยียวยาผู้ประกอบการสายการบิน

หลังสายการบินได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ต่อเนื่องมาจากปี 2563 จนถึงปัจจุบัน สมาชิก 7 สายการบินของสมาคมสายการบินประเทศไทย จึงรวมตัวกันยื่นข้อเสนอต่อรัฐบาลถึงมาตรการเยียวยาผลกระทบต่อสายการบินในฐานะด่านหน้าในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว โดยติดตามผลมาตลอด และยังไม่ได้รับการอนุมัติ

ล่าสุดจากประกาศของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) ฉบับที่ 3 เรื่องแนวปฏิบัติสำหรับผู้ดำเนินการสนามบินในเส้นทางบินภายในประเทศ เริ่มมีผลตั้งแต่วันพรุ่งนี้ (21 ก.ค.) นี้ สาระสำคัญระบุไว้ดังนี้

ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสำหรับเที่ยวบินภายในประเทศ (Domestic Flight) ที่ให้บริการผู้โดยสาร (Passenger Flight) เท่านั้น

ห้ามมิให้สายการบินปฏิบัติการบินรับส่งผู้โดยสารเข้าหรือออกพื้นที่ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (พื้นที่สีแดงเข้ม) ในช่วงเวลาที่มีการระบาดสูงตามข้อกำหนด เว้นแต่ (1) เป็นเที่ยวบินที่เกี่ยวข้องกับโครงการพื้นที่นำร่องเปิดประเทศ (Sandbox) (2) เป็นกรณีอากาศยานที่ขอลงฉุกเฉิน (Emergency Landing) หรือขอลงทางเทคนิค (Technical Landing) โดยไม่มีผู้โดยสารลงจากเครื่อง หรือ (3) มีความจำเป็นและได้รับอนุญาตจาก กพท. ซึ่งจะต้องแสดงหลักฐานเพื่อแสดงความจำเป็นนั้นเพื่อประกอบการขออนุญาต เช่น เพื่อเข้ารับบริการทางการแพทย์ เพื่อการรับวัคซีน เป็นต้น

สำหรับสนามบินที่สามารถให้บริการได้ เช่น การบินข้ามภูมิภาค สายการบินจะต้องมีจำนวนผู้โดยสารได้ไม่เกิน 50% ของปริมาณที่นั่งของเที่ยวบินนั้นๆ และให้สายการบินพิจารณาการจัดที่นั่งในเครื่องบินอย่างเหมาะสม โดยคำนึงถึงมาตรการเว้นระยะห่างเพื่อไม่ให้เกิดความหนาแน่น แออัด อันจะมีส่วนช่วยในการป้องกันควบคุมโรค ในกรณีที่ผู้โดยสารเดินทางมาด้วยกัน สามารถให้นั่งติดกันได้
สำหรับซีอีโอของทั้ง 7 สายการบิน ประกอบด้วย

1.นายพุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายการบินบางกอกแอร์เวย์ส และนายกสมาคมสายการบินประเทศไทย โดยสายการบินบางกอกแอร์เวย์สได้ประกาศหยุดบินเส้นทางในประเทศตั้งแต่วันที่ 13-31 ก.ค.2564 เหลือเฉพาะเส้นทางบินที่เกี่ยวข้องกับการนำร่องเปิดประเทศ ได้แก่ เส้นทางภูเก็ต-สมุย เพื่อเชื่อมโยงการเดินทางจากโครงการภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์สู่โครงการสมุย พลัส โมเดล นอกจากนี้ยังมีเส้นทางกรุงเทพฯ-สมุย ซึ่งให้บริการรองรับเฉพาะผู้โดยสารจากต่างประเทศที่ต่อเครื่องจากสนามบินสุวรรณภูมิมายังสมุย

2.นายสันติสุข คล่องใช้ยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายการบินไทยแอร์เอเชีย ซึ่งประกาศหยุดบินเส้นทางในประเทศชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 12-31 ก.ค.2564

3.นายนัตดา บุรณศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายการบินไทยแอร์เอเชีย เอ็กซ์ ซึ่งประกาศหยุดบินเส้นทางระหว่างประเทศตั้งแต่เกิดการระบาดของโควิด-19 ระลอกแรก

4.นายวุฒิภูมิ จุฬางกูร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายการบินนกแอร์ ซึ่งประกาศยกเลิกเที่ยวบินทั้งหมด

5.นางชาริตา ลีลายุทธ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายการบินไทยสมายล์แอร์เวย์ส ซึ่งประกาศยกเลิกเส้นทางบินในประเทศทั้งหมด

6.นายอัศวิน ยังกีรติวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายการบินไทยไลอ้อนแอร์ ซึ่งประกาศยกเลิกเที่ยวบินทั้งหมด

7.นายวรเนติ หล้าพระบาง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายการบินไทยเวียตเจ็ท ซึ่งประกาศยกเลิกทำการบินทั้งหมด คงเหลือเฉพาะเที่ยวบินขนส่งสินค้าทางอากาศ (Cargo Flight)