"ป
ระกันสังคม" เข้มมาตรการรัฐ ขอประชาชนงดเดินทางติดต่อตรง ต้องติดต่อรับสิทธิประกันสังคมผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ "SSO e-Service" หรือระบบออนไลน์
www.sso.go.th ต้องทำยังไง มีเงื่อนไขสำคัญอะไรที่ต้องทำความเข้าใจ เช็ค!
ภายหลังสถานการณ์การติดเชื้อ COVID-19 ในประเทศยังพุ่งสูงต่อเนื่อง ศบค. ประกาศยกระดับล็อกดาวน์ ให้ 3 จังหวัดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (สีแดงเข้ม) เพิ่มเติมคือ จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่ง 3 จังหวัดดังกล่าวเคยถูกจัดให้อยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุด (สีแดง)
ทั้งนี้คำประกาศศบค. เมื่อ 9 กรกฎาคม ได้ประกาศจังหวัดเขตสีแดงเข้ม แค่ 10 จังหวัด เท่านั้น ได้แก่ จังหวัดกรุงเทพมหานคร จังหวัดนครปฐม จังหวัดนราธิวาส จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดสงขลา ทำให้พื้นที่สีแดงเข้ม มียอดรวมจังหวัดทั้งสิ้น 13 จังหวัด และจำกัดการเดินทาง
ล่าสุด สำนักงานประกันสังคม จึงขอความร่วมมือนายจ้าง ลูกจ้าง ผู้ประกันตน งดการมาติดต่องานหรือทำธุรกรรม ณ สำนักงานประกันสังคมในช่วงนี้ เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทั้งนี้ สามารถติดต่อได้ที่ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ "SSO e-Service" หรือระบบออนไลน์
www.sso.go.th แทนนั้น
"กรุงเทพธุรกิจออนไลน์" จึงรวบรวมช่องทางการติดต่อ "ประกันสังคม" และดูขั้นตอนการกรอกข้อมูล และข้อควรรู้ต่างๆ ดังนี้
ติดต่อ "ประกันสังคม" ผ่านระบบ "SSO e-Service" หรือออนไลน์
www.sso.go.th กรณีผู้ประกันตน ขอรับประโยชน์ทดแทน
- กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย สงเคราะห์บุตร ว่างงาน และชราภาพ
-
- สามารถรับแบบขอรับสิทธิประโยชน์ได้ที่ช่องทาง download แบบฟอร์มขอรับประโยชน์ทดแทนใน www.sso.go.th
-
- ส่งแบบพร้อมเอกสารได้ที่ไปรษณีย์ลงทะเบียน (AR ตอบรับ) โทรสาร (Fax) ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) แอพพลิเคชั่น (Line)
-
- รายละเอียดของแต่ละหน่วยงานท่านสามารถเข้าดูได้ที่ www.sso.go.th
-
- มีข้อสงสัยเกี่ยวกับงานประกันสังคมสามารถติดต่อสอบถามที่หน้าเว็บไซต์ www.sso.go.th
-
- ผ่านช่องทาง E-mail : info@sso1506.com
-
- Webboard (กระดานสนทนา) Live Chat
-
- Facebook : สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน
กรณีนายจ้างขอทำธุรกรรมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
ให้นายจ้างเข้าช่องทาง e-Service ในเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม
www.sso.go.thในหัวข้อบริการอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อขอ User สถานประกอบการ และ Password เพื่อการนำส่งข้อมูลเงินสมทบ แจ้งผู้ประกันตน เข้า - ออก จากงาน หรือแจ้งเปลี่ยนแปลงข้อมูลผู้ประกันตน
พร้อมชำระเงินสมทบของผู้ประกันตน ผ่านระบบ e-payment ได้ตลอดเวลา
กรณีการตรวจสอบข้อมูลของ "ผู้ประกันตน"
สามารถตรวจสอบข้อมูลผู้ประกันตนส่งเงินสมทบยอดเงินชราภาพ และการรับสิทธิประโยชน์รวมถึงเงื่อนไขการรับสิทธิประโยชน์ต่างๆ ทุกกรณี
สามารถตรวจสอบข้อมูลและสิทธิประโยชน์ ผ่านช่องทางต่างๆ ได้แก่
- ช่องทางระบบสมาชิกผู้ประกันตนในเว็บไซต์ของสำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th
-
- สามารถดาวน์โหลด Application SSO Connect
-
- สอบถามผ่าน facebook Messenger ของ สำนักงานประกันสังคม
-
- โทรสายด่วน 1506 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
ด้าน นางเธียรรัตน์ นะวะมะวัฒน์ โฆษกกระทรวงแรงงาน (ฝ่ายการเมือง) เปิดเผยว่า กรณีเว็บไซต์ของสำนักงานประกันสังคม (สปส) แท้จริงแล้วเว็บไซต์ไม่ได้ล่ม เพียงแต่สำนักงานประกันสังคมได้ปิดปรับปรุงเว็บไซต์ 1 วัน เพื่อปรับปรุงระบบฐานข้อมูลให้สอดคล้องกับประกาศ ศบค.ที่จากเดิมกำหนดพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดใน 6 จังหวัดและเพิ่มเติมเป็น 10 จังหวัด
รวมทั้งขยายประเภทกิจการที่ให้ความช่วยเหลือจากเดิม 4 เป็น 9 ประเภทกิจการ เป็นเวลา 1 เดือน ซึ่งเป็นคนละส่วนกับข้อมูล ผู้ประกันตนมาตรา 33,39 และ 40 ที่มีรายชื่อทั้งหมดอยู่ในระบบฐานข้อมูลอยู่แล้ว ไม่ได้มีปัญหาอะไร
"อาชีพอิสระ" สมัครได้หลายช่องทาง
นางเธียรรัตน์ ยังกล่าวถึง กรณีที่สำนักงานประกันสังคมให้ผู้ที่ยังไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคมและต้องการรับ "เงินเยียวยา" 5,000 บาท ได้สมัครมาตรา 40 นั้น ในเรื่องการสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 นั้นเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของผู้ประกอบอาชีพอิสระ ที่สามารถมี 3 ทางเลือกในการจ่ายเงินสมทบรายเดือนระยะยาว เพื่อรับการคุ้มครองที่ต่างกัน คือ
- ทางเลือกที่ 1 จ่าย 70 บาท
-
- ทางเลือกที่ 2 จ่าย 100 บาท
-
- ทางเลือกที่ 3 จ่าย 300 บาท
ผู้ประกอบอาชีพอิสระ ที่ยังไม่มีหลักประกันทางสังคมให้ได้สมัครมาตรา 40 เพื่อเข้าสู่ระบบประกันสังคม โดยการออมในระยะยาวเป็นการสร้างความมั่นคงในชีวิต