'สมาคมทุเรียน' จี้รัฐ เจรจา 'ฮับผลไม้' รถไฟจีน-ลาว

'สมาคมทุเรียน' จี้รัฐ เจรจา 'ฮับผลไม้' รถไฟจีน-ลาว

  • 0 ตอบ
  • 90 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Prichas

  • *****
  • 2104
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




ข้อมูลจากสมาคมทุเรียนไทย ระบุว่า ปัจจุบันคนจีนกินทุเรียนเฉลี่ยคนละ 2 ขีดต่อปี ไทยเฉลี่ยคนละ 3 กิโลกรัม(กก.)ต่อปี มาเลเซียคนละ 5 กก.ต่อปี ดังนั้นตลาดจีนยังขยายได้อีกมาก

อย่างไรก็ตาม ปัญหาคือการกระจายทุเรียนให้เข้าถึงผู้บริโภคยังทำน้อย  แต่ก็ใช่ว่าแผนขยายตลาดส่งออกทุเรียนจะไม่มีความหวังเลยเนื่องจากในเดือนธ.ค.2564  จะมีการเปิดให้บริการเส้นทางรถไฟสายสาธารณรัฐประชาชนจีน (จีน) และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว) ด้วยทางรถไฟมาตรฐาน ขนาดทาง 1.435 เมตร รวมระยะทาง 422 กิโลเมตร เชื่อมเส้นทางระหว่างเมืองโบเต็น จีน และเมืองหลวงเวียงจันทน์ สปป. ลาว ซึ่งห่างจากท่านาแล้ง สปป. ลาว ที่เป็นจุดสิ้นสุดรถไฟเชื่อมโยงกับจังหวัดหนองคาย ประมาณ 16 กิโลเมตร

 ภานุศักดิ์ สายพานิช นายสมาคมทุเรียนไทย กล่าวว่า การเปิดให้บริการรถไฟสปป.ลาว-จีนนั้นโดยรวมจะเป็นประโยชน์ต่อการส่งออกสินค้าจากไทย-จีนอย่างแน่นอน แต่เนื่องจากปัจจุบันรถไฟของไทยยังไม่มีการเชื่อมต่อรถไฟสายดังกล่าว ดังนั้นการส่งออกผ่านเส้นทางนี้ จึงต้องใช้บริการพื้นที่ของสปป.ลาวที่เวียงจันทน์ เป็นศูนย์กลาง หรือHUBซึ่งเป็นหน้าที่ของรัฐบาลจะเร่งทำพิธีสารกับสปป.ลาวเพื่อให้สินค้าของไทยผ่านไปได้

“ ทุกประเทศที่อยู่แนวเส้นทางรถไฟเส้นนี้สนใจและอยากทำพิธีสาร โดยเฉพาะเวียดนามที่ปลูกทุเรียนเช่นกัน แต่ยังไม่ได้รับอนุญาตให้ส่งออกทุเรียนสดไปจีน ทำให้ มีปัญหาเรื่องทุเรียนสวมสิทธิเกิดขึ้น แต่ เนื่องจากเวียดนามมีพื้นที่เชื่อมต่อกับจีน คาดว่าจะมีการเจรจาเพื่อส่งออกทุเรียนสดเช่นกันหากสำเร็จก็จะเป็นคู่แข่งที่สำคัญของไทย”

ปัจจุบันการส่งออกทุเรียนสดของไทยในตลาดจีน สามารถไปได้ทั้งทางเรือและรถบรรทุก โดยทางเรือจะออกจาท่าเรือแหลมฉบัง ไปยังท่าเรือเซี่ยงไฮ้ แล้วส่งโดยรถบรรทุกไปจีนอีกทอดนึงที่ผ่านมาการส่งออกทางเรือ มีต้นทุนการส่งออกที่ถูกกว่า ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 สัปดาห์ ช้ากว่าเมื่อเทียบการขนส่งด้วยรถบรรทุก ประมาณ 3 วัน และมีความเสี่ยง เรื่องการควบคุมอุณหภูมิที่ไม่สามารถตรวจเช็คได้ตลอดเส้นทาง บางตู้สินค้าถูกถอดปลั๊กไฟทำให้ทุเรียนเน่าเสียเมื่อถึงปลายทางต้องเลือกใช้บริการบริษัทเรือที่มั่นใจเท่านั้น

ส่วนการส่งออกโดยรถบรรทุก มีค่าบริการที่สูงกว่าทางเรือแต่สามารถตรวจเช็คอุณหภูมิได้ตลอดเส้นทาง ส่วนใหญ่จะนิยมขนส่งผ่านเส้นทางR3AและR12ส่วนR9มีเส้นทางคดเคี้ยวทำให้ความนิยมมีน้อยกว่าปัจจุบันทุกเส้นทางบก ทางจีนได้เปิดด่านเพิ่มเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับการขนส่งสินค้าไทย ทำให้ผู้ประกอบการหันมาใช้บริการขนส่งโดยรถบรรทุกมากขึ้น

“ ในอนาคต หากผู้ประกอบการของไทยต้องการขนส่งผ่านรถไฟลาว-จีน ก็ต้องระวังเรื่องการคุมอุณหภูมิ และต้องเปิดบริการยกตู้สินค้าขึ้นรถไฟอย่างครบวงจรด้วยเพื่อไม่ให้มีปัญหาคอขวดกระจุกอยู่บริเวณด่านนานเกินไปซึ่งจะทำให้ต้นทุนสูงขึ้นอีก “

จากราคาทุเรียนที่แพงกว่าผลไม้อื่นๆ และมีตลาดส่งออกชัดเจน พบว่าในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เกษตรกรไทยและประเทศเพื่อนบ้านขยายการปลูกเพิ่มขึ้น ซึ่งในอีก 3-4 ปีข้างหน้าจะรับรู้ผลผลิต แต่เบื้องต้นคาดว่าปัญหาทุเรียนล้นตลาดจะยังไม่เกิดขึ้น เพราะเมื่อเทียบกับความต้องการบริโภคทุเรียนของคนจีนยังมีอีกมาก

ฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กล่าวว่า การขนส่งทางบก ต้องผ่านเส้นทางหลักของสปป.ลาวและประเทศเวียดนามไปสู่ประเทศจีน จึงทำให้มีความติดขัดล่าช้าตามด่านตรวจของทั้ง 2 ประเทศ ที่เพิ่มมาตรการป้องกันอย่างเข้มงวด ซึ่งผู้ส่งออกของไทยจะต้องวางแผนและบริหารจัดการเวลาในการแจ้งนำเข้าสินค้าผลไม้ที่ด่านนำเข้าของจีนให้ทันต่อเวลา เพื่อไม่ให้เกิดการตกค้างของผลไม้ที่หน้าด่าน และที่ผ่านมาจีนได้เปิดด่านอนุญาตให้นำเข้าผลไม้จากไทยได้ ที่ด่านโม่หัน ด่านโหย่วอี้กวน ด่านรถไฟผิงเสียง และล่าสุด ด่านตงซิงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้กับผู้ส่งออกผลไม้ไปจีนเพื่อช่วยแก้ปัญหารถติดสะสมบริเวณหน้าด่านโหย่วอี้กวน โดยเฉพาะในฤดูกาลส่งออกผลไม้

ส่วนการขนส่งทางเรือ จากแหลมฉบังผ่านเวียดนาม ฮ่องกง ไปจีน ใช้เวลาประมาณ 7-10 วัน ซึ่งเป็นการขนส่งผลไม้สดโดยการควบคุมอุณหภูมิในตู้สินค้าเย็น (Reefer)และ การขนส่งทางอากาศจีนได้มีการเช่าเหมาเครื่องบินมารับทุเรียนไทย จากการซื้อขายผ่านระบบออนไลน์แบบPre-Order